การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้เกมกล่องหรรษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนผดุงนารี

Main Article Content

ชินวัฒน์ ศรีพล
ชนากานต์ ขำดำรงเกียรติ
ภัทรวดี ทับทะมาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้เกมกล่องหรรษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนผดุงนารี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้เกมกล่องหรรษาที่พัฒนาขึ้น กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้เกมกล่องหรรษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 จำนวน 38 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน 2) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียง และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน One Sample T-Test

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้เกมกล่องหรรษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 77.90/74.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ระดับ 70/70 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนหลังเรียนโดยใช้เกมกล่องหรรษา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 74.83 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้เกมกล่องหรรษา มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.92, S.D.=0.60)

Article Details

How to Cite
ศรีพล ช., ขำดำรงเกียรติ ช. ., & ทับทะมาตย์ ภ. . (2024). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้เกมกล่องหรรษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนผดุงนารี. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(3), 59–69. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/278361
บท
บทความวิจัย

References

คณินญา ทับเที่ยง และ เก็ตถวา บุญปราการ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนาบอน. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 9(2), 204-213.

ชฎาพร ยางเงิน. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธัญญารัตน์ มะลาศรี และ Wei Jingru. (2560). การจัดเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(3), 81-90.

นภาพร บำรุงศิลป์. (2560). ภาษาจีนกับบทบาทในระดับโลกและการพัฒนาการเรียนการสอนในประเทศไทย. การเรียนรู้ภาษาจีนช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการสื่อสารและการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 16(1), 90-94.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ประสานการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

พิมพร วัฒนากมลกุล และ มโนรัตน์ สมคะเนย์. (2564). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนโดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 98-109.

ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). ตักศิลาการพิมพ์.

ภัทรภณ ศิลารักษ์. (2565). การปรับตัวบทบาทภาษาจีนภายใต้บริบทวิถีชีวิตปกติใหม่ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(1), 61-72.

เหยิน จิ่งเหวิน. (2559). ภาษาจีนระดับต้น 1 (ฉบับปรับปรุง). วี พริ้นท์ซีเอ็ดยูชั่น.

วรดา ไชยพิมพ์. (2565). การพัฒนาทักษะการฟัง ทักษะการพูด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วราภรณ์ จันดำ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาจีนด้านทักษะการอ่านตัวพินอินโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

สุมิตร คุณากร. (2563). หลักสูตรและการสอน. ชวนพิมพ์.

อัศนีย์ ปันตี. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบเอส ที เอ ดี กับการใช้เกม เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Darasamutr Sriracha School. (2017). The effectiveness of game-based teaching methods on Chinese language reading aloud skills among Mathayomsuksa 2 students. Educational and Social Development Journal, Burapha University.

Huyen, N. T. T., & Nga, K. T. T. (2003). Learning vocabulary through games: The effectiveness of learning vocabulary through games. Asian EFL Journal, 5(4), 90-105.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1994). Learning together and alone: Cooperative, competitive, and individualistic learning. Allyn and Bacon.

Liu, Xun. (2012). Introduction to Teaching Chinese as a Foreign Language. Beijing Language University Press.

Wright, A., Betteridge, D., & Buckby, M. (2006). Games for language learning. Cambridge University Press.