การพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ด้วยโปรแกรมแอโรบิกดานซ์ร่วมกับการใช้สื่อเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Math Symbol Training)

Main Article Content

ศศินันท์ ละวิสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมแอโรบิกดานซ์ ร่วมกับการใช้สื่อเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Math Symbol Training) สำหรับการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทาง กายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โปรแกรมแอโรบิกดานซ์ ร่วมกับการใช้สื่อเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Math Symbol Training) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) โปรแกรมแอโรบิกดานซ์ ร่วมกับการใช้สื่อเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Math Symbol Training) และ 3) แบบวัดสมรรถภาพทางกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบที (t-test for Dependent Sample)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาโปรแกรมแอโรบิกดานซ์ ร่วมกับการใช้สื่อเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Math Symbol Training) สำหรับการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.04/84.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 2) สมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โปรแกรมแอโรบิกดานซ์ ร่วมกับการใช้สื่อเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Math Symbol Training) มีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ละวิสิทธิ์ ศ. (2024). การพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ด้วยโปรแกรมแอโรบิกดานซ์ร่วมกับการใช้สื่อเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Math Symbol Training). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(3), 189–197. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/278501
บท
บทความวิจัย

References

มนัสนันท์ ศรีภูธร. (2564). ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิคมวยไทยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). (2564). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม).

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). (2567). รายงานเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม).

วริศรา พุ่งสูงเนิน. (2557). เจตคติต่อการเข้าร่วมเต้นแอโรบิกตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

วิภาดา พ่วงพี. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 250-261.

ศิริราชฟิตเนสเซ็นเตอร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2555). วิธีการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (อายุ 13-18 ปี). กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.