วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคามฉบับนี้ มีสาระเกี่ยวกับการศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมอีสาน กลุ่มชาติพันธุ์ สังคม ภาษา วรรณกรรม แรงงานและบทวิจารณ์หนังสือ
เริ่มจากบทความพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิเรื่อง “ความเป็นชาติไทยในประเพณีอีสาน ร่วมสมัย : รัฐ ทุน อำนาจ และชาติพันธุ์” มุ่งชี้ให้เห็นว่าประเพณีมิได้เป็นเพียงกิจกรรมของ ระบบความเชื่อทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังแฝงการสร้างอุดมการณ์ชาตินิยม การนำเสนอ ความเป็นชาติไทยในประเพณีอีสานร่วมสมัย แสดงวิธีการสร้างความหมายของประเพณีที่ ถูกปรับเปลี่ยนลื่นไหลไปตามบริบทของช่วงเวลา มีลักษณะซับซ้อนภายใต้การดำเนินของ รัฐ และทุน เพื่อคำ้จุนอำนาจทางการเมือง ทำให้ประเพณีท้องถิ่นก้าวไปสู่เวทีการท่องเที่ยว และความสัมพันธ์ข้ามชาติในสังคมสมัยใหม่ โดยการแทรกลักษณะไทยเข้าไปในประเพณี ท้องถิ่นอีสานอย่างมีนัยสำคัญ
การทำให้ประเพณีท้องถิ่นก้าวสู่เวทีการท่องเที่ยว เป็นกลวิธีหนึ่งของการสร้าง ความสัมพันธ์ข้ามชาติในบริบทสังคมสมัยใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินงานโดยรัฐ และทุนเพื่อค้ำจุนอำนาจทางการเมือง แต่บทความเรื่อง “แนวโน้มการขับเคลื่อนนโยบาย สาธารณะด้านการท่องเที่ยวตามลำนำ้โขง จากจังหวัดนครพนมถึงจังหวัดอุบลราชธานี และ แขวงคำม่วนถึงจำปาสัก” พบว่าอนาคตของการจัดการท่องเที่ยวตามลำน้ำโขง จะเกิดจาก การจัดการโดยชุมชน ชาวบ้านในหมู่บ้านจะมีส่วนร่วมมากขึ้น ข้อเสนอในการพัฒนาการ ท่องเที่ยว จะต้องมีการบูรณาการนโยบายสาธารณะด้านการท่องเที่ยวตั้งแต่ระดับชุมชน จังหวัด และกลุ่มจังหวัดนครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี โดยภาครัฐจะต้อง มีเอกชนร่วมเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้มีแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบเชื่อม โยงระหว่าง 4 จังหวัด โดยใช้ความหลากหลายทางสังคมลุ่มน้ำโขงเป็นสาระสำคัญในการ สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์สองฝั่งโขง
การสร้างความสัมพันธ์ของชาวไทย-ลาว สองฝั่งโขง มีกลวิธี และการสื่อความ หมายที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไทย-ลาวมาเนิ่นนานหลากหลายวิธี เช่นใน บทความวิจัย “เรื่องเล่าเจ้าอนุวงศ์ในสังคมเมืองโคราชกับพลวัตการสื่อความหมายความ สัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว” พบว่าบทบาทและการสื่อความหมายของเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับเจ้า อนุวงศ์ในสังคมเมืองโคราช มีการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมเมืองโคราช สร้างความ หมายมิตรและศัตรู ความหมายวีรบุรุษในสังคมอีสาน ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาวที่มี มาอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม มีผลต่อการสร้างสำนึกทาง ประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้คนในสังคมไทย-ลาวมีอุดมการณ์ความสมานฉันท์ร่วมกัน และอีก บทความหนึ่งที่เสนอภูมิปัญญาความสัมพันธ์ตามแนวคิดของคนไทดำ (ลาวโซ่ง) เรื่อง “แนวคิดดี 2 ฝั่งดี 2 ฝ่ายของไทดำ : ภูมิปัญญาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผีและคนกับคน” แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในผีเฮือนฐานะเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวของตน ควบคู่ไปกับหลัก พุทธศาสนา ก่อให้เกิดภูมิปัญญาการสร้างความสัมพันธ์ของคนไทดำด้วยแนวคิด ดี 2 ฝั่ง ดี 2 ฝ่าย ที่สร้างความสัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างลูกหลานกับผีเฮือนซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับผี และเจ้าภาพเสนกับหมอเสนและเพื่อนบ้านที่มาร่วมงานในฐานะความ สัมพันธ์ระหว่างคนกับคน
การศึกษาด้านวรรณกรรมในวารสารฉบับนี้ ได้แก่ บทความเรื่อง “วรรณกรรมคำ ผูกแขนอีสาน : อำนาจและอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนา” ศึกษาจากวรรณกรรมที่เป็น ลายลักษณ์ และวรรณกรรมมุขปาฐะ 148 สำนวน ผลการศึกษาพบว่า อำนาจและอุดมการณ์ ทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่มีนัยความหมายแฝงเร้นอยู่ในวรรณกรรมคำผูกแขนอีสานอย่าง แนบเนียนเป็นธรรมชาติ เป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบประเพณี และ จารีตที่ปฏิบัติในสังคมอีสาน ส่วนบทความเรื่อง “เพศวิถีกับสตรีนิยม : ความหมายวัฒนธรรม เชิงนิเวศในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน” มุ่งศึกษาความเป็นเพศวิถีและสตรีนิยม โดยใช้แนวคิด สตรีนิยมเชิงนิเวศ พบว่ามีการสื่อความหมาย 3 ประเด็นคือ บุรุษกับอำนาจความเป็นปิตา ธิปไตยยกย่องให้บุรุษเพศมีอำนาจเหนือสตรี เพศวิถีกับแนวคิดเกษตรแบบดั้งเดิมจะยกย่อง สตรีเพศเสมือนเทพผู้ให้กำเนิด และการตีความหมายสัญญะทางธรรมชาติผ่านตัวละครหญิง การบุกรุกล่วงล้ำสตรีของบุรุษเพศ สะท้อนอาการรุกล้ำของคนเมืองที่มุ่งกอบโกยผล ประโยชน์จากธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ตามแนวคิดสตรีนิยมเชิงนิเวศไว้อย่างน่าสนใจ
บทความที่ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสตรีในด้านสังคมคือ บทความเรื่อง “ปัจจัย การย้ายถิ่นของแรงงานสตรีลาวในจังหวัดอุดรธานี” นำเสนอปัจจัยผลักดันจากประเทศที่ แรงงานเคลื่อนย้ายออกได้แก่ ความยากจน ค่านิยม ระดับค่าจ้างต่ำ ขาดสิ่งจูงใจสำหรับ ความก้าวหน้าในอาชีพ นโยบายกำลังคนที่ไม่เหมาะสม ส่วนปัจจัยดึงดูดในประเทศที่ แรงงานเคลื่อนย้ายเข้าได้แก่ ระดับค่าจ้างที่สูงกว่า ค่านิยม สิ่งจูงใจจากประเทศที่ต้องการ ย้ายไป ความก้าวหน้าในอาชีพ ความสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังพบว่าระบบเครือญาติ และ เพื่อนจากหมู่บ้านเดียวกันมีความสำคัญอย่างมากต่อการย้ายถิ่นของแรงงานสตรีลาว บทความเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงาน ชานเมือง” เสนอการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหาตัวแปรด้วยวิธีนิรนัย พบว่า ตัวแปรต้นซึ่งเป็นองค์ประกอบปัจจัยที่ส่งผลกระทบจากการกลายเป็นเมือง และการดำรง ชีพมี 28 ตัวแปร สำหรับตัวแปรตามคือ ความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงาน ชานเมืองมี 5 ตัวแปร ได้แก่ ความมั่นคงด้านที่ดินและที่อยู่อาศัย ด้านกำลังแรงงาน ด้าน อาหาร ด้านสุขภาพ และด้านการเข้าถึงการศึกษา ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงใน การดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานชานเมืองจังหวัดขอนแก่น
นอกจากนี้บทวิจารณ์หนังสือ “ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษ ที่ 20” ในตอนท้ายของวารสารฉบับนี้จะนำเสนอบทสรุปและวิจารณ์การเรียบเรียง การ สังเคราะห์องค์ความรู้ที่ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีจากโลกวิชาการตะวันตกอย่างเป็นระบบ เพื่อ ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างกว้างขวาง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้จากบทความในวารสารฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ ช่วยสร้างสรรค์ จุดประกายจินตนาการอันนำไปสู่ความรู้ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน วิชาการ งานวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาชีวิต ชุมชน สังคม และประเทศ ชาติในอนาคต ได้สืบไป
โสภี อุ่นทะยา
บรรณาธิการวารสารมนุษย์กับสังคม
Published: 2019-12-26