การจัดกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนรายหมวดธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พสธร ฤกษ์พัฒนกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภิชาติ พงศ์สุพัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การกระจายลงทุนรายหมวดธุรกิจ, ทฤษฎีการจัดพอร์ตของ Markowitz, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

   การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงและผลตอบแทนของดัชนีราคาหมวดธุรกิจ และสัดส่วนการลงทุนในแต่ละหมวดธุรกิจที่เหมาะสมตามทฤษฎีของ Markowitz เก็บข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดอยู่ในสภาวะพักตัวออกข้าง โดยใช้ดัชนีราคารายสัปดาห์ของทั้งหมด 27 หมวดธุรกิจในการคำนวณอัตราผลตอบแทน
   จากการศึกษาพบว่า พอร์ตที่เหมาะสม (Optimal Portfolio) จากวิธี mean–variance ตามทฤษฎีของ Markowitz มีสัดส่วนการกระจายลงทุนใน 5 หมวดธุรกิจ ได้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (PF&REIT) 57.11%, ขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) 22.10%, เงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN) 15.53%, การแพทย์ (HELTH) 5.14%, และ กระดาษและวัสดุการพิมพ์ (PAPER) 0.12% ซึ่งจะทำให้ Sharpe Ratio ของพอร์ตมีค่าสูงสุดเท่ากับ 1.035 และผลตอบแทนคาดหวังต่อปีจากพอร์ตเท่ากับ 9.92% โดยหมวดธุรกิจที่มีค่าเบต้าและอัตราผลตอบแทนที่ต้องการสูงสุดและต่ำสุด ได้แก่ หมวด PROF และ PF&REIT ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายปีที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละหมวดธุรกิจเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ พบว่ามีเพียง 7 หมวดที่มีค่า Jensen’s Alpha เป็นบวก ได้แก่ หมวด FIN, PAPER, TRANS, PF&REIT, HELTH, COMM และ ENERG

References

โกเมน จิรัญกุล. (2545). การบริหารความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 42(ฉบับพิเศษ ครบรอบ 36 ปี สพบ.): 131-168.

เทพชู ศรีโพธิ์, กุณฑลรัตน์ ทวีวงศ์ และ วิษณุ วงศ์สินศิริกุล. (2561). ความเสี่ยงของดัชนีหมวดธุรกิจในช่วงที่มีค่าผลตอบแทนเบี่ยงเบนสูงในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์. 32(104): 107.

ปานศรัณย์ บุญนิจรอด. (2559). การกระจายการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชรินทร์ อุบลบาน. (2559). การศึกษาแนวโน้มดัชนีหลักทรัพย์รายกลุ่มอุตสาหกรรม และดัชนีหลักทรัพย์รายหมวดธุรกิจต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการกระจายการลงทุนในดัชนีหลักทรัพย์รายกลุ่มอุตสาหกรรม. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วดาณัฐ วุฒิรัตน์. (2559). ผลตอบแทนการลงทุนในหมวดธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างของประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Beninga, S. (2008). Financial Modeling. Cambridge, MA: MIT Press.

Campbell, J. Y., Lettau, M., Malkiel, B. G. & Xu, Y. (2001). Have Individual Stocks Become More Volatile? An Empirical Exploration of Idiosyncratic Risk. Journal of Finance. 56 (1): 1-42.

LaBarge, K.P. (2008). Diversification by Country and Global Sector: Considerations for Portfolio Construction. Valley Forge, PA: Investment Counseling & Research. The Vanguard Group.

Markowitz, H.M. (1959). Portfolio Selection: Efficient Diversification of Investments. New York: John Wiley & Sons, Inc.

McIntosh, T.J. (2012). The Sector Strategist: Using New Asset Allocation Techniques to Reduce Risk and Improve Investment Returns. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Meric, I., Ratner, M., & Meric, G. (2010). “Risks, Returns, and Portfolio Diversification Benefits of Sector Investments”. Journal of the Northeastern Association of Business, Economics and Technology. 16 (1), 33-44.

Moyer, R. C., McGuigan, J.R. & Rao, R.P. (2018). Contemporary Financial Management 14e. Singapore: Cengage Learning, Inc.

Parkinson, C. S. (2020). Maximizing Returns for Investors Using Modern Portfolio Theory and the Efficient Frontier. Undergraduate Honors Capstone Projects. Utah State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

How to Cite

ฤกษ์พัฒนกิจ พ., & พงศ์สุพัฒน์ อ. . (2021). การจัดกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนรายหมวดธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย . Journal of Buddhist Education and Research (Online), 7(3), 1–15. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/248549