การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
แอพพลิเคชั่น, เดลิเวอรี่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น 3) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่น ในการประเมินหาประสิทธิภาพของระบบเป็นการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีจำนวน 10 คน และการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นจำนวน 400 คน การพัฒนาแอพพลิเคชั่นใช้ Application Studio และโปรแกรมในการจัดการฐานข้อมูลใช้ SQLite. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่มีประสิทธิภาพของแอพลิเคชั่นในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย=3.84) และแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่มีผลประเมินความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอรี่ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย=3.69)
References
จิญาดา แก้วแทน.(2557).ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์สมาร์ตโฟน กรณีศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปทุมธานี.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
เฉลิมพันธ์ ธโนปจัย.(2558).การออกแบบแอปพลิเคชั่นเพื่อแนะนำการบริโภคผลไม้ไทย.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาญยุทธ อุปายโกศลและคณะ.(2557).การศึกษาและพัฒนาแอพพลิเคชั่นช่วยนำทางเพื่อผู้พิการทางสายตาบน
โทรศัพท์เคลื่อนที่.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ธนกฤต โพธิ์ขี.(2560).การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์“Taladnut Night Market”.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
บุญชม ศรีสะอาด.(2553).การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร : สุวีวิทยาสาส์น
พชรพรรณ สมบัติ,วัฒนา มานนท์.(2559).แนวทางการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น THAI Mobile สำหรับผู้ใช้บริการสายการบิน.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2559.
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์และคณะ.(2562).แอพพลิเคชั่นคำนวณยากลุ่มเสี่ยง.วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562.
พิชัย ระเวงวัน.(2562).การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเสริมทักษะการเรียนรู้พยัญชนะภาษาไทยและภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์.การประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน ครั้งที่ 7 วันที่ 30 พฤษภาคม 2563.มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สุชัญญา สายชนะและชลิตา ศรีนวล.(2561).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่น QueQ ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2561.
อภิณพร ภูจีระและณัฐพงศ์ พลสยม.(2560).การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแอพพลิเคชั่นคำศัพท์ภาษาไทยพื้นฐานสำหรับเด็กชั้นอนุบาล 1 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์.วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560.