พุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พระยี่แก้ว ธมฺมจาโร (สมงาม) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ผศ.ดร.นิรัช เรืองแสน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระประนม ฐิตมโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

พุทธวิธีการสอน; พฤติกรรมการเรียนรู้; รายวิชาสังคมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพ เพื่อเปรียบเทียบ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพุทธวิธีการสอนในการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบค่าที (t-test) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(F-Test) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’s) 

ผลการวิจัยพบว่า

พุทธวิธีการสอนในการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา จังหวัดนครพนม นครพนม โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการพัฒนานักเรียนและ ด้านการวัดและประเมินผล

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อพุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา จังหวัดนครพนม จำแนกตามสถานะภาพ พบว่า นักเรียนที่มีสถานะภาพ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อพุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ ไม่แตกต่างกัน  จำแนกตามระดับชั้น พบว่า ไม่แตกต่างกันเมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวัดและประเมินผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

แนวทางการพัฒนา 1) หลักสูตรควรมีเนื้อหาสาระที่มีความทันสมัย 2) ครูควรแจ้งวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของการเรียนให้นักเรียนทราบก่อนเรียน 3) ครูควรใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย 4) ครูควรจัดกิจกรรม ทัศนศึกษาในพื้นที่จริง 5) ครูควรมีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พระกฤษณะ วชิรญาโณ (วภักดิ์เพชร). (2560). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในการส่งเสรีมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระดิฐวัฒน์ อภิวฑฺฒนธมฺโม (ทิพคุณ). (2561). พุทธวิธีการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิภาพรรณ พินลา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต. 30(1). 13-34.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. จาก https://www.sobkroo.com/articledetail.asp?id=1145.

อุทัย วรเมธีศรีสกุล และคณะ. (2561). พุทธวิธีการเรียนการสอน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 5(1), 71-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

How to Cite

ธมฺมจาโร (สมงาม) พ. ., เรืองแสน ผ. ., & ฐิตมโล พ. . (2021). พุทธวิธีการสอนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา จังหวัดนครพนม. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 7(2), 123–135. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/251086