การศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพภายใน; การมีส่วนร่วมของครู; สถานศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และศึกษาข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 รวมทั้งสิ้น 315 คน โดยใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตร Taro Yamane (1973) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.67– 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบันในการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ในการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด และผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านการประเมินผลและการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ ด้านการติดตามและการดำเนินการ ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
- ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า 1) ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อกำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ 2) ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ควรมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพ 4) ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ควรมีส่วนร่วมในการประเมินผลเพื่อรายงานผลการประเมินตนเองต่อผู้บริหารสถานศึกษา 5) ด้านการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ควรมีส่วนร่วมในการประเมินผลเพื่อนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง 6) ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ควรมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพและ 7) ด้านพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ควรมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาต้องเป็นบุคลากรแห่งการเรียนรู้
References
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์.
พรสวรรค์ ศรีลาศักดิ์. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการ บริหารการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันชัย วัฒนศัพท์. (2553). คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน: คู่มือการจัดการสร้างความปรองดองในระบบบริการสาธารณสุข. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
วัชรินทร์ ภุมิภาคและ บุญชม ศรีสะอาด. (2563). การพัฒนาแนวทางดำเนินงานเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชับภูมิ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(6): 28-294.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2563- 2565. กลุ่มนโยบายและแผน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี 2562. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2559 (IMD 2016). สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2563 จาก http://www.onec.go.th
สุกัญญา ตลอดภพ. (2558). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารหารศึกษา คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุวิทย์ ปุยปัญจะ. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของศูนย์เครือข่ายโรงเรียนการจัดการศึกษาท้องถิ่น ขอนแก่น - ชัยภูมิ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
อุลัยพร หินชุย. (2563). ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Bugg, K.A. (2000). Quality assurance an improvement planning in Illinois high schools. Dissertation Abstract International. 24(2) : 317-A.
Ngwenya, T.H. (2004). Quality Assurance in south African Higher Education and its Implementation at the University of Durban – Westuille. Dissertation Abstract Internationnal. 42(05) : 1442 – A ; January 2004
Shaded. W., w.Prins & P.J.M. Nas. (1982). Access and Participation : A Theoretical Approach in Participation of the Poor the Development. Leiden : University of Leiden.
Suryadi, A and Indriyanto. (1992). Improving educational of Primary School. Laporan Penelition. Jakata : BalitbangDikdad.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York: Harper and Row. Publications.