การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการรับมือ กับภัยพิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้, กรณีศึกษา, การรับมือภัยพิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 และ
2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเปรียบเทียบความรู้เรื่องภัยพิบัติ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา และศึกษาความสามารถในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสฤษดิ์เสนาพิทยาคม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้มาโดยวิธีการเลือก ( Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบวัดความรู้เรื่องภัยพิบัติ และแบบวัดการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.45) และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 77.25/76.99
2. ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สรุปได้ดังนี้
2.1 ความรู้เรื่องภัยพิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 81.56)
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2557). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย.
เจนจิรา ประภาสะวัต. (2563). ผลการใช้กรณีศึกษาเรื่องภัยธรรมชาติที่มีต่อการตัดสินใจและการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 .วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(4), 76-90.
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(1), 1-13.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8), กรุงเทพฯ: พี่บาลานซ์แอนปริ้นติ้ง.
ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปุณยนุช พรมเพ็ชร. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาจากสื่อในชีวิตประจำวัน เรื่องกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุคนธ์ สินทพานนท์. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง