ผลของการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเน้นภาระงานเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนชุมชนบ้านแก่ง (ไกรสรพงษ์สงเคราะห์) จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นพื้นฐาน (Pre-Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว และทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบเน้นภาระงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทรกานต์ จรรยา. (2559). การพัฒนาบทเรียนเสริมผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนราชดำริ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นารีนาถ กลิ่นหอม, กฤตพงศ์ มูลมี, และวริยา อินทร์ประสิทธิ์. (2560). การพัฒนาด้านการพูดภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-based learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(2). 73-79.
เพ็ญนภา ทัพพันธ์. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563 จาก http://www.niets.or.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามความเข้มข้น 3 ระดับสู่สากล. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2563 จากhttps://www.englishinstitute.obec.go.th/DDetail/3
อุษา มะหะหมัด. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเนนภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Apriliah, R. (2016). Improving students’ reading ability by using task-based learning of VII grade at SMP N 2 Ogodeide. Indonesia: Madako University
Bunmak, N. (2017) The Influence of Task-based Learning on ELT in ASEAN Context. Language Education and Acquisition Research Network (LEARN) Journal, 10(1), 201-209.
Cho, E., Toste, J.R., Lee, M., and Ju, U. (2018). Motivational predictors of struggling readers’ reading comprehension: the effects of mindset, achievement goals, and engagement. Reading and Writing, 32(1), 1219–1242. doi: 10.1007/s11145-018-9908-8
Education First. (2019). Education First English Proficiency Index 2019: EF EPI 2019. Retrieved August 9, 2020, from http://www.ef.co.th/epi/
Lambert, C. and Oliver, R. (2020). Using Tasks in second language teaching: Practice in diverse contexts. St Nicholas House, 31-34 High street, Bristol BS1 2AW, UK: Multilingual Matters.
Lap, T.Q., and Trang, H.D. (2017). The Effect of Task-Based Learning on EF Students’ Learning Reading: A Case Study in the Mekong Delta of Vietnam. Studies in English Language Teaching, 5(1), 34-48. doi: 10.22158/selt.v5n1p34
Laxman, B. (2020). Task-based language teaching: A current EFL approach. Nepal: Lumnimi Banijya Campus.
Nunan, D. (2004). Task-based language teaching. New York: Cambridge University Press.
Oakhill, J., Cain, K., and Elbro, C. (2015). Understanding and teaching reading comprehension: A handbook. 711 Third Avenue, New York, NY 10017: Routledge.
Prabhu, N.S. (1987). Second language pedagogy. Oxford: Oxford University Press.
Saeed, S. (2019). Effect of using task-based approach on the achievement of fifth primary class pupils. Iraq: University of Mosul.