รูปแบบการพัฒนาคุณภาพครูให้เป็นมืออาชีพเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน Model of Teacher Professional Development for the 21 st Century 's Learners Using School based

ผู้แต่ง

  • อรนุช มั่งมีสุขศิริ (Oranuch Mungmesuksiri)

คำสำคัญ:

รูปแบบพัฒนาคุณภาพครู/ ครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21/ สถานศึกษาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นวิจัยพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาครูมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพครูให้เป็นมืออาชีพเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน ศึกษาผลการใช้รูปแบบประเมินและปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้รูปแบบเป็นนักเรียน 94 คน ครู 102 คน และผู้บริหาร 3 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา รวม 3 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นครู แบบประเมินทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 แบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้บริหาร ครู วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ประเมินและปรับปรุงรูปแบบโดยการสัมมนาผู้รู้ จำนวน 9 คน สังเคราะห์เนื้อหาจากแบบบันทึกการสัมมนาผู้รู้และนำเสนอเป็นรูปแบบการพัฒนาคุณภาพครูให้เป็นมืออาชีพเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาคุณภาพครูให้เป็นมืออาชีพเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน เป็นรูปแบบ Semantic Model ที่ใช้ภาษาในการอธิบาย ตามแนวคิดหลักการพัฒนารูปแบบของจอยซ์และเวลล์ (Joyce and weil, 2000) หลักการพัฒนาการทำงานอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนต่อเนื่อง ครูพัฒนางานปกติที่โรงเรียนให้มีคุณภาพ และร่วมกับเพื่อนครูทำงานเป็นทีม โดยผู้บริหารเป็นผู้ส่งเสริมให้ครูประสบความสำเร็จ มีระบบปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพครู 2 ระบบ ระบบใหญ่ คือระบบการควบคุมคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารด้วยวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) และระบบย่อย ระบบปฏิบัติการพัฒนาครูด้วยชุมชนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC ) การนำรูปแบบไปใช้มี 6 ขั้นตอน คือ (1) ปลุกอุดมการณ์ความเป็นครู (2) สำรวจความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติของครูมืออาชีพเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3) วางแผน : แผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน (Annual Plan) และแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan : ID Plan (4) ปฏิบัติตามแผน (Do : D) ผู้ปฏิบัติการประกอบด้วย ครู ชุมชนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ (PLC) และผู้บริหารโรงเรียนกำกับคุณภาพ (5) ตรวจสอบ (Check : C) ประสิทธิภาพของกระบวนการ และประสิทธิผลของการพัฒนาตามแผนงาน (6) พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Act : A) เงื่อนไขความสำเร็จคือ ผู้บริหาร มีภาวะผู้นำ และแสดงความเชื่อในคุณค่าของการพัฒนาคุณภาพครู ครูต้องยึดมั่นในอุดมการณ์ ครูทุกคนเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ และการประเมินความสำเร็จตามแผนและการปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพครู ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบจากการสนทนากลุ่มสรุปว่ารูปแบบมีความเหมาะสมเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ และผลจากการประชุมผู้รู้ จำนวน 9 คน สรุปยืนยันความถูกต้องสมบูรณ์ของรูปแบบ

References

พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ อภิวัฒน์การเรียนรู้....สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย.(6-8 พฤษภาคม 2557). กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2561

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงษ์.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2559) ครูมืออาชีพ : สิ่งจำเป็นที่ควรมีและควรเป็น. ศูนย์ศึกษาพัฒนาครู มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สืบค้น 8 มกราคม 2559, จาก http://www.tdc.snru.ac.th/userfiles/br.doc

สิรินภา กิจเกื้อกูล (2553) (พฤษภาคม – สิงหาคม). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวปฏิรูป : ประสบการณ์จากวิทยานิพนธ์ พุทธศักราช 2543 – 2551.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,12 (2).

สุธรรม วาณิชเสนี. (2556). เหลียวหลัง แลหน้า มองหาอนาคต : ปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานบทเรียนจากอดีตในทศวรรษที่ผ่านมาและความเป็นไปได้สำหรับอนาคต. เอกสารประกอบการเสวนามองอดีต เพื่อกำหนดอนาคต : ปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จของการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานในโอกาสครบรอบ 1 ทศวรรษ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (29 มกราคม 2558).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561) กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

David Cooper (2016) Professional Development: An Effective Research Base-Model, Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company. Accessed on February 2, 2016. Printed in the U.S.A. UM06/09 Z-1413752. from Website http://www.greatsourcerigbypd.com.

Joyce, B.R., and Weil, M. (2000), Models of Teaching. Sixth edition. Needham Heights, Massachusetts: Allyn & Bacon.

Linda Darling-Hammond, Ruth Chung Wei, and Alethea Andree, (2010). How High-Achieving Countries Develop Great Teacher. Stanford University School of Education Barnum Center, 505 Laseum Mall, Stanford, CA 94305.

Magarete Kedzior and Steve Fifield. (2004).Teacher Professional Development. Education Policy Brief. University of Delaware Education Research and Development Center. V.15 may 2004

Sparks, D. (2002). Designing powerful staff development for teachers and principals. Oxford, OH: National Staff Development Council.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22