การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 Development of Professional Learning Community of The Secondary Educational Service Area Office 25 Model (PLC-KKSec25 Model)

ผู้แต่ง

  • คเชนทร์ กองพิลา (Kachen Kongpila)

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

        การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (Development of Professional Learning Community of The Secondary Educational Service Area Office 25 Model) : PLC-KKSec 25 Model ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตแก่นนครราชพฤกษ์ จำนวน 447 คน แบ่งเป็นคณะผู้บริหาร 17 คน ครูผู้สอน 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET  แบบนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model และแบบสอบถามออนไลน์ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model ใช้วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยคณะศึกษานิเทศก์ประจำแต่ละสหวิทยาเขต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัย พบว่า

          1. รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (Development of Professional Learning Community of The Secondary Education Service Area Office 25 Model) : PLC-KKSec25 Model มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการและแนวคิดของ PLC-KKSec25 Model 2) จุดประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการขับเคลื่อน PLC-KKSec25 Model มี 4 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผนหลังจากที่วิเคราะห์และกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไข (Plan) (2) การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด (Act) (3) การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (Observe) (4) การสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน (Reflection) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ ภายใต้องค์ประกอบของ PLC-KKSec25Model ที่มีการกำหนด บรรทัดฐานและสร้างค่านิยมร่วมกัน (Shared values and norms) วิธีการปฏิบัติที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน (Collective focus on student learning) การร่วมมือของครู (Collaboration) การเปิดใจและรับการชี้แนะจากการปฏิบัติงาน (Expert advice and study visit)  การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Reflection dialogue) และการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่ประกอบด้วย ทรัพยากรแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย เครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย และเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย

       2. รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 87.69/86.27 จากการทดลองภาคสนาม (Field Testing)

       3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน GPA (20.18) ในภาคเรียน 1/2561 สูงกว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(20.08)ในภาคเรียน 1/2560 โดยมีผลต่าง +0.1 ส่วนด้านผลจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมสูงขึ้นทุกรายวิชา เมื่อเทียบกับระดับ สพม.25 (14.38) ระดับจังหวัด (13.85) ระดับ สพฐ. (12.92) และระดับประเทศ (12.69) และผลจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมสูงขึ้นทุกรายวิชา เมื่อเทียบกับระดับสพม.25 (6.03) ระดับจังหวัด(8.45) ระดับ สพฐ. (9.52) และระดับประเทศ (8.95) และจากการการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ PLC-KKSec25 Model พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก และครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520).ระบบสื่อการสอน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น : ภาควิชาประเมินผล และวิจัยการศึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/19xvsLP_bLN8q6wkzX9hVIvV_TS4hyuGa/view

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. กรุงเทพ ฯ : สามลดา

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558)

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17 (มิถุนายน - กันยายน) : 11 - 15.

สมศ. (2560) โครงการวิจัย : บทสรุปผู้บริหารโครงการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.

ธีรพงษ์ แสงสิทธิ์. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2560) ประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ประจำปี 2560

ณัฏฐ์สิตา ศิริรัตน์. (2551). การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สำหรับบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรากร หงษ์โต. (2553). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติยา เนตรวงษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนร่วมเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Crane, P. & O’Regan,M. (2010). On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention. Department of Families, Housing, Community Services and Indigenous Af-fairs, Australian Government.

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities : Communities of inquiry and improvement. Austin : Southwest Educational Development Laboratory. journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/125/688

Our mission is to realize the power and promise of 21st century learning for every student—in early learning, in school, and beyond school—across the country and around the globe. [n.d.]. Retrived June 19,2021, from

https://battelleforkids.org/networks/p21

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22