รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 Supervision model for developing research potential in the classroom of science teachers for learners’ learning of Science Department of the Secondary Educational Service Area Office 16

ผู้แต่ง

  • ธนชพร ตั้งธรรมกุล (Tanachaporn Tungtummakul)

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศ/ สมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน/ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 40 คน นักเรียนที่เรียน จำนวน 1,566 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย และส่วนที่เป็นเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย และส่วนที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที

        ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีชื่อว่า เอพีไอดีดับเบิ้ลอี (APIDEE Model) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ความเหมาะสม 1.00 และผลการประเมินค่ามาตรส่วนประมาณค่าพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า 2.1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัย
ในชั้นเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.2) ผลการประเมินเค้าโครงวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวม ในระดับดี เมื่อจำแนกรายบุคคล พบว่าครูผู้สอนที่มีผลการประเมินระดับดีมาก ร้อยละ 17.50 คน ระดับดี ร้อยละ 75.00 ระดับปานกลาง ร้อยละ 7.50 และระดับปรับปรุง ร้อยละ 00.00 2.3) ผลการประเมินความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนฉบับสมบูรณ์ พบว่า โดยภาพรวมในระดับดีมาก เมื่อจำแนกเป็น รายบุคคลพบว่าครูผู้สอนที่มีผลการประเมินระดับดีมาก ร้อยละ 22.50 ระดับดี ร้อยละ 60.00 และระดับปานกลาง ร้อยละ 17.50 และระดับปรับปรุงไม่มี 2.4) พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ตามระดับชั้นที่เรียนกับครูผู้สอนที่ทำการวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นทุกคนหลังจากการนิเทศตามรูปแบบการนิเทศ 2.5) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการนิเทศ โดยใช้รูปแบบการนิเทศเอพีไอดีดับเบิ้ลอี (APIDEE Model) พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวง ที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ร.ส.พ.

กิติมา ปรีดีดิลก. (2551). การบริหารและการนิเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์ จำกัด.

เกษม เป้าศรีวงษ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังครูนักวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ : บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนชพร ตั้งธรรมกุล. (2559). รายงานวิจัยความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน. สงขลา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16.

นริศรา อุปกรณ์ศิริการ. (2552). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิตยา ทองไทย. (2552). การดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประทินทิพย์ พรไชยา. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก. 4 (1) : 11-14.

ประวิต เอราวรรณ์. (2555). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้าวิชาการ จำกัด.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พิชิต ฤทธิ์จำรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : เฮาร์ออฟ เดอร์มิสท์.

ยอดหทัย เทพธรานนท์. (2552). Memtor-mentee-mentoring. สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2558, จาก http//meeting.trf.or.th/seminar/Documents/Mentor Mentee.pdf

ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เยาวภา รัตนบัลลังค์. (2548). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้วยระบบเครือข่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาสิงห์บุรี. นครสรรค์ : โรงพิมพ์ริมบึง.

รัตติมา โสภาคะยัง. (2556). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านห้วยกอก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. มุกดาหาร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร.

ระย้า คงขาว, มนสิช สิทธิสมบูรณ์ และ เอื้อมพร หลินเจริญ. (2559, มกราคม - มีนาคม). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18 (78) : 7-9.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาระสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียน. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.(หลักสูตรและการสอน). นครปฐม : บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี . (2553). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎี กลยุทธสู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มิตรสอน.

สมาน สาครจิตร. (2556). การพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้ครูเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุรพงษ์ แสงสีมุข, จิติมา วรรณศรี, วิทยา จันทร์ศิลา และสำราญ มีแจ้ง. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16 (2): 119-12.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอุมา รุ่งเรืองวาณิช. (2556). การพัฒนารูปแบบการสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยบูรณาการการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22