ความคาดหวังของผู้ถูกคุมความประพฤติที่มีต่อการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, ผู้ถูกคุมความประพฤติ, พนักงานคุมประพฤติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ถูกคุมความประพฤติที่มีต่อการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ถูกคุมความประพฤติที่มีต่อการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ 3)เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 335 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่(Frequency)หาค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean)และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) การทดสอบค่า t-test, F-test
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความคาดหวังของผู้ถูกคุมความประพฤติที่มีต่อการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก ทั้งหมด 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านจริยธรรม รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ถูกคุมความประพฤติที่มีต่อการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อความคาดหวังของผู้ถูกคุมความประพฤติที่มีต่อการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีผล
- แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการของพนักงานคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติ พบว่า พนักงานคุมประพฤติควรมีองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและแนวทางการปฏิบัติงานที่ส่วนราชการกำหนด ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสมอภาค เคารพสิทธิของผู้ถูกคุมความประพฤติ ควรชี้แจงขั้นตอนและสิทธิให้ผู้ที่มาติดต่อราชการรับทราบก่อนเสมอ ควรจัดให้มีสถานที่จอดรถ และมีที่นั่งสำหรับผู้ถูกคุมความประพฤติอย่างเพียงพอ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คุมประพฤติ, กรม. (2559). คู่มืองานคุมประพฤติ สำหรับบริการประชาชน. กรุงเทพฯ :
กระทรวงยุติธรรม.
ชกูล โตอ่อน. (2557). ปัญหาการผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติจำเลยในคดีความผิด
เกี่ยวกับยาเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดลำปาง. สถาบันพัฒนา
ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.
กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์พริ้น.
พรชัย ภาระเวช. (2558). ศึกษาความคาดหวังของผู้รับบริการต่อการให้บริการของ
สำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สกลนคร.
สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้
คำปรึกษาแนะนำปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่าย
ช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (สคช). ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัย
บูรพา.
สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดมุกดาหาร. (2561). แนวคิดการคุมประพฤติ (PROBATION).
เข้าถึงได้จาก: http://www.mukdahannews.com/c-koomparperd.htm. (วันที่ค้น
ข้อมูล: 16 ธันวาคม 2561).