การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนลำปลายมาศ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้, หลักไตรสิกขา, ส่งเสริมการเรียน, นักเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1)เพื่อศึกษาหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2)เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักไตรสิกขามาใช้การส่งเสริมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนลำปลายมาศ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (3)เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนลำปลายมาศ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท มี 3 ประการ ได้แก่ 1) อธิศีลสิกขา 2) อธิจิตตสิกขา 3) อธิปัญญาสิกขา
แนวทางการนำหลักไตรสิกขามาโดยการจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขามีสาระสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน 3 ประการคือ 1) ศีล เป็นการฝึกฝนพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ด้านกายและวาจา 2) สมาธิ เป็นการฝึกด้านคุณธรรม และสมรรถภาพของจิต 3) ปัญญา เป็นการฝึกให้เกิดความรู้ ความเข้าใจของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิขึ้นก่อนซึ่งปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นมี 2 ประการ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ 2) เกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นในตัวผู้เรียน 3) จัดกระบวนการศึกษาตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล ฝึกด้านความประพฤติปฏิบัติควบคุมกาย วาจา สมาธิฝึกด้านจิตใจ และปัญญาฝึกด้านความรู้ความจริงความมีเหตุผล รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต 4) การวัดและประเมินผลตามหลักไตรสิกขาให้ครอบคลุมด้านกาย ศีล สมาธิ และปัญญา
References
(1) หนังสือ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2551).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวนธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 17.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(2) วิทยานิพนธ์
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. (2555).“การวิเคราะห์การศึกษาตามหลักไตรสิกขา”. สารนิพนธ์พุทธศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุปรียา ธีรสิรานนท์. (2556).“การศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการการเรียนรู้ในกรอบของไตรสิกขากับทฤษฎีการ
เรียนรู้ของสกินเนอร์”.สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสำรองสญฺญโต (แสงทอง). (2556).“ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนวิถี
พุทธกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านบ่อ ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น”.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
แม่ชีศุกร์ภาวดี ณ พัทลุง. (2556). “การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขากรณีศึกษาพุทธทาส-
ภิกขุ”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.