กระบวนการขัดเกลาพฤติกรรมของสามเณร วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระสัญชัย ทิพย์โอสถ
  • พระครูวุฒิธรรมาภิวัฒน์
  • พระมหาปุณณ์สมบัติ ปภากโร
  • พระมหาเจริญ กระพิลา
  • มนตรี วิชัยวงษ์

คำสำคัญ:

กระบวนการ, การขัดเกลาพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการขัดเกลาพฤติกรรมของสามเณร๒) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติของสามเณรที่มีต่อการขัดเกลาพฤติกรรม๓) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการขัดเกลาพฤติกรรมของสามเณร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพประชากร ได้แก่ สามเณรที่มีอายุระห่ว่าง๑๓-๑๘ปี การวิจัยพบว่าสามเณรได้รับความรู้คำสอนของพระพุทธเจ้านำไปใช้ในชีวิตจริงมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรมทำให้มีจิตใจที่ผ่องใสการทำวัตรสวดมนต์ ช่วยให้มีสมาธิในการเรียนกิจวัตรต่างๆ ช่วยส่งเสริมให้เป็นคนดีให้รู้จักหลักธรรมฝึกนิสัยให้ขยันหมั่นเพียร ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ และมีความรับผิดชอบ ความสามัคคี ทำให้รู้จักมีจิตอาสารู้จักแนวทางการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาสอนให้สามเณรมีความอ่อนน้อมถ่อมตนสิ่งสนับสนุนที่ทำให้เกิดการขัดเกลาพฤติกรรมของสามเณรคือ ทำวัตรสวดมนต์ เช้า เย็น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนสรุปได้ว่าการสอนให้มีความละอาย ความเกรงกลัวต่อบาปแนวทางควรมีสถานที่ฝึกฝนอบรมสามเณรก่อนที่เข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่การเรียนนักธรรมบาลีในวัดให้เข้มงวดมากขึ้นและการทำกิจกรรมร่วมกันมีผลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพฤติกรรม

References

บรรณานุกรม
๑. คัมภีร์พระไตรปิฎกและหนังสือทั่วไป
บุญมี แท่นแก้ว. จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นท์ติ้ง, ๒๕๓๙.
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. ชาวเขา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, ๒๕๓๘.
งามตา วนินทานนท์. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๓๔.
งามพิศ สัตย์สงวน. หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
จำนง อดิวัฒนสิทธิ์และคณะ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,๒๔๖๐.
หนังสือภาษาอังกฤษ/English/ texts
Elkin, Frederick and Handel, Gerald.The Child and Society: the Process of Socialization. New York: The Random House. 1972.
Richter, K. et al. Child Care in Urban Thailand : Choice and Constraint in a Changing Society. IPSR Publication no. 163. Bangkok: Institute for Population and Social Research. 1992.


๒วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย .
จุฑารัตน์ ไพศาลโรจนรัตน์.“บทบาทของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในการขัดเกลาทางศีลธรรม : ศึกษากรณีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร”.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
นางสาวดวงทิพย์อันประสิทธ์.“รูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาในชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบางน้าหวานอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ”. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การ บริหารการพัฒนาสังคม) : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๕๕.
นางสาวสมสุขนิธิอุทัย.“การพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธในสังคมไทย”.พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
ฤทธิชัย แกมนาค. และพระครูวิมลศิลปะกิจ.“พฤติกรรมเชิงจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาของสามเณรชาวไทยภูเขาที่ศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย”.ทุนสนับสนุนวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดลใจ ถาวรวงศ์ตันเจริญและดร.จันทร์ชลีมาพุทธ. “กระบวนการขัดเกลาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนต้นแบบจังหวัดฉะเชิงเทรา”.ดุษฎีนิพนธ์สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม.คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา, ๒๕๕๒

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02