ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการบรรลุธรรม ในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

คำสำคัญ:

ภาษา, การบรรลุธรรม, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

ในบทความชิ้นนี้  ผู้วิจัยได้นำเสนอการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับบรรลุธรรม  ในทฤษฎีทางปรัชญาภาษากล่าวถึงภาษาทั่วไปเป็นหลัก  แต่ในพุทธปรัชญากล่าวถึงภาษาธรรม  โดยมีบทสรุปดังนี้

๑.  ภาษากับปริยัติ  การศึกษาปริยัติเกี่ยวข้องกับตำราและคำสอนทางคัมภีร์  โดยเริ่มต้นจากการฟัง,คิดใคร่ครวญและลงมือปฏิบัติ  กรณีนี้ทำให้ภาษาปริยัติกลายเป็นภาษาทางปรัชญาที่เป็นการโต้เถียงกันตามการตีความของแต่ละบุคคลไป  ในด้านพุทธปรัชญาเถรวาทได้แก้ไขปัญหานี้ด้วยอาศัยบุคคลที่บรรลุธรรม  ภาษาในคัมภีร์ถูกตีความว่าสร้างความเข้าใจต่อข้อเท็จจริงเท่านั้น  แต่ก็ยังไม่ควรเชื่อว่าเป็นความจริง

๒.  ภาษากับปฏิบัติ  คำสอนภาคปฏิบัติที่นำไปสู่ความจริง  ไม่จำเป็นต้องตีความ  แต่มีคำถามว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงธรรมแล้วทำให้ผู้ฟังเข้าใจก่อน  ฉะนั้น การบรรลุธรรมได้ต้องอาศัยภาษา  เพราะผู้จะบรรลุธรรมได้ต้องปฏิบัติโดยอาศัยภาษาจากตำราหรือคำพูดของอาจารย์  ภาษาที่เกิดขึ้นหลังจากการปฏิบัติ  เรียกว่า  ภาษาธรรม  เป็นภาษาที่เข้าใจนามธรรม  และสร้างพัฒนาชีวิตด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา  จนกระทั่งบรรลุธรรมได้ในที่สุด

References

บรรณานุกรม
๑. คัมภีร์พระไตรปิฏกและหนังสือทั่วไป
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๑.
----------------. ปรัชญาภาษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๖.
จำรูญ ธรรมดา. เนตติฏิปปนี : ศึกษาเชิงวิเคราะห์พระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการ พิมพ์, ๒๕๔๖.
เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. พจนานุกรมปรัชญา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โบแดง, ๒๕๔๗.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๘.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) . การสื่อภาษาเพื่อเข้าถึงสัจธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๓๙.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๓.
พุทธทาสภิกขุ . ปรมัตถสภาวธรรม . กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์พระนคร, ๒๕๑๘.
---------------- . ภาษาคนภาษาธรรม . กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๓๗.
---------------- . พระเจ้าในภาษาธรรมของพุทธบริษัท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดวงตะวัน ๒๕๕๓.
---------------. ตามรอยพระอรหันต์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๔๙.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน , ๒๕๔๓.
---------------. พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน , ๒๕๕๓.
สุริยา รัตนกุล. อรรถศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๕.
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. ปรัชญาภาษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
หนังสือภาษาอังกฤษ/English texts
Michael Dummett, "What is a theory of meaning? (2)", in Truth and Meaning, edit by G. Evans and J. McDowell. Oxford: Oxford University Press,1976.
Michael Devitt and Richard Hanley. The Blackwell Guide to the Philosophy of Language. UK: Blackwell Publishing Ltd,2006.

๒. วิทยานิพนธ์
พระมหาจิระศักดิ์ ธมฺมเมธี (สังเมฆ). “การศึกษาวิเคราะห์เรื่องปัญหาภาษาในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีแนวคิดเรื่องภาษาคนภาษาธรรมของพุทธทาสภิกขุ”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔.
พระมหาอำนวย อานนฺโท (จันทร์เปล่ง). “การศึกษาเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
๓. บทความ
สมฤดี วิศทเวทย์. “ภาษากับความจริงในพุทธศาสนาเถรวาท” . วารสารพุทธศาสน์ศึกษา. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ มกราคม-เมษายน ๒๕๔๖ : หน้า ๖-๑๐๖.
ศ.ดร.สมภาร พรมทา. “การใช้ปรัชญาภาษา สำหรับวิเคราะห์คำสอนในพุทธศาสนา” . วารสาร
ปัญญา. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๔ : หน้า ๓๗๑-๓๘๐.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02