สมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล กับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์การ ไปสู่ความสำเร็จในยุคประเทศไทย ๔.๐
คำสำคัญ:
สมรรถนะหลัก, ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล, ขีดความสามารถทางการแข่งขันของ องค์การ, ประเทศไทย ๔.๐บทคัดย่อ
ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลคือ บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญขององค์การในฐานะที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการดำเนินกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้ประสบความสำเร็จ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงต้องมีความเข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งในด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การกลั่นกรองคัดเลือกและบรรจุแต่งตั้งพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เรื่อยไปจนถึงการประเมินผลทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ และสำคัญยิ่งไปกว่านั้น ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลยังจำเป็นที่จะต้องมีสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์การไปสู่ความสำเร็จในยุคประเทศไทย ๔.๐ ได้แก่ การสื่อสาร (Communication) การคิดวิเคราะห์และการคิดวิพากษ์ (Analytical and Critical Thinking) ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ (Relationship-Building Skills) และทักษะภาวะผู้นำ (Leadership)
References
๑. คัมภีร์พระไตรปิฎกและหนังสือทั่วไป
เจษฎา นกน้อย. การสื่อสารภายในองค์การ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๙.
ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. “กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์”. วารสารครุศาสตร์. ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๓ (มกราคม ๒๕๕๗).
สมบัติ ริยาพันธ์, “การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด : แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลจิตเวช”. วารสารกอง พยาบาล, ปีที่ ๓๖ ฉบับที่๒ (มกราคม ๒๕๕๒).
บวร เทสาริน. ประเทศไทย ๔.๐ อะไร อย่างไร และทำไม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223[๔ ก.พ. ๒๕๖๐].
HR Trend Institute. 11 HR trends for 2016. Available at: https://hrtrendinstitute.com
/2015/12/01/11-hr-trends-2016/. Accessed [February 4, 2017].
Ruth Mayhew. What Are the Four Competencies of an HR Manager?. Available at:
http://yourbusiness.azcentral.com/four-competencies-hr-manager-3925.html. Accessed [January 26, 2017].
๒. วิทยานิพนธ์
ดลนภา ดีบุปผา. “ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในองค์กรความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานกับความผูกพันใน องค์กรของพนักงานบริษัทเอบีฟู้ด จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๕๕.