การศึกษาคติธรรมในบทเทศนาภาษาพื้นบ้านเขมรจังหวัดสุรินทร์ ของพระครูพิศาลธรรมโกศล (สานนท์ สปญฺโญ)

ผู้แต่ง

  • พระครูอุดมวิสารทธรรม

บทคัดย่อ

ความเป็นมาของการเทศนาภาษาพื้นบ้านเขมรในจังหวัดสุรินทร์ภาษาพื้นบ้านเขมรเป็นบ่อเกิดของวรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาปากต่อปาก และมีวรรณกรรมที่ได้มีผู้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น วรรณกรรมสมุดข่อย วรรณกรรมใบลานและ ศิลาจารึก ซึ่งมีจำนวนมหาศาล วรรณกรรมเหล่านี้มีหลายประเภท เช่น วรรณกรรมเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ นิทานประโลมโลก ตำนาน เป็นต้นพระสงฆ์จะนิยมเทศน์เป็นภาษาพื้นบ้านเขมรท้องถิ่น ที่ใช้เป็นภาษาสื่อสารในชุมชน

        คติธรรมที่ปรากฏในเทศนาภาษาพื้นบ้านเขมรในจังหวัดสุรินทร์ พระธรรมเทศนา ที่นำเสนอมีความเด่นด้านการใช้ภาษาการอธิบายกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่ายได้มีการยกพุทธศาสนสุภาษิต ยกอุทาหรณ์ เล่านิทาน เปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปมัย ใช้วิธียกบุคคลเป็นตัวอย่าง ถือว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น และถือว่าเป็นรูปแบบและแนวทางที่ท่านได้นำเอาออกมาเผยแผ่พุทธธรรมมากที่สุด พุทธธรรมที่นำเสนอเป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัวท่านได้อธิบายเนื้อหาสาระธรรมชัดเจน แจ่มแจ้ง

        แนวทางการประยุกต์คติธรรมที่ปรากฏในบทเทศนาภาษาพื้นบ้านเขมรในจังหวัดสุรินทร์ของพระครูพิศาลธรรมโกศลสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลจริงในชีวิตประจำวัน และนำไปใช้ปรับปรุงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนส่วนรวมได้  ซึ่งเนื้อหาพุทธธรรมส่วนใหญ่ท่านจะเน้นเรื่องศีล สมาธิปัญญา ทาน ศีล ภาวนา ความกตัญญูกตเวทิตา

References

บรรณานุกรม

มหาจุฬาลงกรณราชวิทายลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาเตปิตกํ. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
พวงพิกุล มัชฌิมา. “บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสากบ้านกุดรัง ตำบลกุดรัง อำเภอบรบือ
จังหวัดมหาสารคาม”.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนคริ นทรวิโรฒ มหาสารคาม,๒๕๓๗.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03