ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมการเข้าทรงของชาวพุทธ : กรณีศึกษาชุมชน บ้านศาลาสามัคคี ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร

บทคัดย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางพระพุทธศาสนากับพิธีกรรมของร่างทรง พบว่า ความเชื่อส่วนใหญ่ของร่างทรงที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติธรรม  ความเชื่อในเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระ   ความเชื่อในการถือศีลกินเจ  เลี้ยงพระ ถวายสังฆทาน  และความเชื่อในการทอดกฐิน  ผ้าป่า  ช่วยบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์  ถ้าจะแบ่งความเชื่อของร่างทรงออกเป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและความเชื่ออื่น ๆ พบว่า  ร่างทรงที่มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมที่กระทำสูงสุดคือ การปฏิบัติธรรมสวดมนต์พระคาถาต่างๆอาทิเช่น  ก่อนการเริ่มพิธีกรรมนั้นร่างทรง และผู้ที่จะเข้าร่วมประกอบพิธีนั้นจะมีการสวดมนต์  นมัสการพระรัตนตรัย    บทชุมนุมเทวดา   บทเจริญคุณ   พระคาถายอดพระกัณไตรปิฎกพระคาถาชินบัญชร  พาหุงมหากา  มลคลจักวาล  เป็นต้น  ซึ่งบทสวดเหล่านี้บรรดาร่างทรงที่มีการประกอบพิธีกรรมได้นำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบพิธีรองลงมาคือ  ทำบุญให้ทานตามโอกาสต่าง ๆร่างทรงที่มีความเชื่อด้านอื่น ๆ คือ  พิธีกรรมไหว้ครูประจำปี รองลงมาคือ การรักษาโรค  การถอนคุณไสย  การทำพีธีเสดาะเคราะห์ต่อชะตา

การที่จะประกอบพิธีกรรมแก็ลมอ (เข้าทรง )   เพื่อการรักษาผู้ป่วยของชาวไทยส่วย –กูย นั้นมี  ๒  กรณี อันได้แก่  เกิดจากการบนบานไว้เมื่อครั้งที่ตนยังเจ็บป่วย  และเกิดจากการประกอบพิธีกรรมขึ้น เพื่อการรักษาในขณะนั้นเลย   แต่การนี้ก็เป็นผู้รักษาด้วยพิธีกรรมแก็ลมอ (เข้าทรง ) ทุกคนก็ได้ผ่านการรักษา หรือ ได้รับการรักษาโดยวิธีการจากแพทย์แผนปัจจุบันอยู่แล้ว แต่ที่ยังต้องรับการรักษาโดยการประกอบพิธีกรรมแก็ลมอ (เข้าทรง )  เกิดจากความต้องการกำลังใจอีกทางหนึ่ง หรืออาจจะมีความเชื่อในพิธีกรรม  ดังนั้นในการประกอบพิธีกรรมแก็ลมอ (เข้าทรง ) แต่ละครั้งจะมีการรวมกลุ่ม เครือญาติและบุคคลในชุมชน  เปรียบได้ดังการได้จัดพิธีกรรมให้ผู้ป่วย  และได้รับกำลังใจจากญาติมิตรอันเป็นกำลังใจที่มีอิทธิพลมากพอสมควร แต่ในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นจะจัดได้ง่ายหรือสามารถที่จะกระทำได้สะดวกกว่าเพราะเป็นการรวมกลุ่ม  ของญาติพี่น้องทุกคน  วิธีการรักษาจะเน้นทางสุขภาพจิตเป็นสำคัญ  เช่น การขอขมา  การขอโทษ ต่อบรรพบุรุษ หรือ ครู  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ของรักษา ) ที่ตนเองได้ให้ความเคารพนับถือ  ซึ่งได้มีการจัดพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มที่ตนเองได้ให้ความเคารพนับถือ เช่น มีการบวงสรวงเซ่นไหว้สังเวยบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์  การประกอบพิธีกรรมการเข้าทรง  ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ และพิธีเรียกขวัญแก่ผู้ป่วย   เป็นต้น

References

บรรณานุกรม

ประทีป แขรัมย์, “พิธีกรรม มม๊วต ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร: ศึกษากรณีบ้านตะโกราย ตำบล
บ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์”,ปริญญาศิลปศาสตตรมหาบัณฑิต,สาขาเอกไทยคดีศึกษามนุษยศาสตร์ พฤษภาคม, ๒๕๓๕,( ม.ป.พ. ) .
พระมหาทวีศักดิ์ ใครบุตร.”ดิรัจฉานวิชา : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะและแนวปฏิบัติในสังคม
ในสังคมไทย”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปะศาสตร์ : มหาวิทยา
ลัย ธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.
พระเฑียรวิทย์อตฺตสนฺโต ( โอชาวัมน์ ) การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของร่างทรง : กรณีศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร,ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย พุทธศักราช ,๒๕๔๘.
สุวิทย์ ทองศรีเกตุ, “การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลศาสนาพราหมณ์ที่มีพฤติกรรมทางศาสนาของ
พุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช”,วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๒๓.
เสถียร พันรังสี, “การบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนาอาจริยวาท”, ใน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ( ครบ ๓ รอบ ) ,ราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ม.ป.ป.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิฒน์.”ไสยศาสตร์ : ปรากฎการณ์ของสังคมไทย”, พิทยา ว่องกุล
บรรณาธิการ. ไสยศาสตร์ครองเมือง.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน . กรุงเทพมหานคร : บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, ๒๕๔๖.
วิชาภรณ์ แสงมณี.ผีในวรรณคดี. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร,๒๕๓๖.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณและ นิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ .การทรงเจ้าและร่างทรง.กรุงเทพมหานคร :
โอ.เอส.พริ้นติ้ง.เฮ้าส์. ๒๕๓๓.
Richard Lawrence , Unlock Your Psychic Powers ศาสตร์แห่งพลัง , แปลโดย สมชาย สัมฤทธิ์ทรัพย์ , กรุงเทพมหานคร : มาสเตอร์ พริ้งติ้ง , ๒๕๔๒.
DENNYsergeant, Global Ritualism ,พิธีกรรมของโลก แปลโดย ทิพยอาภา (นามแฝง ), กรุงเทพมหานคร : บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๔๒.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03