การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พรณรงค์ อยู่คง มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • พัฒนพันธ์ เขตต์กัน มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ผู้ที่จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ, การเตรียมความพร้อม, วัยเกษียณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมของผู้ที่จะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อระดับการเตรียมความพร้อมของผู้ที่จะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ  เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน และเชิงคุณภาพ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐรองลงมาคือ ด้านที่พักอาศัย  ด้านสภาพแวดล้อม  ด้านการเงิน ด้านจิตใจ และด้านสุขภาพร่างกาย ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เห็นควรให้ออกเงินในรูปแบบเงินฝากประจำ สร้างบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองแทนการเช่าบ้านและออกแบบบ้านเพื่อรองรับวัยชรา หมั่นเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ออกกำลังกายที่เหมาะสม ทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีประโยชน์ 

References

เอกสารอ้างอิง
กัญญา อภิพรชัยสกุล. (2552). หลักประกันด้านเศรษฐกิจเพื่อวัยสูงอายุ : ศึกษากลุ่มประชากรอายุ 40 -59 ปี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิจัย ประชากรและสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนายุส ธนธิติ และกนิษฐา จำารูญสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิจัย ประชากรและสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
บังอร ธรรมศิริ. (2549). ครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการเวก ฉบับนิทรรศการวันเจ้าฟ้า วิชาการ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และ รติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพ สุขภาพผู้สูงอายุ การสนับสนุนทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภาณุวัฒน์ มีชะนะ และคณะ. (2560). การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.


ศากุล ช่างไม้. (2550). สังคมไทยกับสถานการณ์ผุ้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: มติชน.
สิงหา จันทริยวงษ์. (2553). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบทของราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรกัมพูชา โดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี บัณฑิต. สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุรพล ชยภพ. (2552). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2549-2554). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04