บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาสตรีในการส่งเสริมความเข้มแข็ง ของสตรีในชุมชน อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ยี่ภู่ศรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การบริหาร, การพัฒนาสตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรี และศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรสำเร็จของทาโร่ ยามาเน่ ที่จำนวน 400 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการองค์กรอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติงาน  และด้านการปรับปรุงแก้ไข  การส่งเสริมความเข้มแข็งของสตรีในชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพึ่งตนเองของสตรีในชุมชนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการตนเองของสตรีในชุมชน และด้านการเรียนรู้ของสตรีในชุมชน เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรี พบว่า การบริหารการพัฒนากลุ่มสตรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีส่งผลต่อความเข้มแข็งของสตรี ที่ภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน เป็นผลมาจากการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีที่อยู่ในระดับมากส่งผลให้ความเข้มแข็งของสตรีในชุมชนอำเภอวังโป่งอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน

References

เอกสารอ้างอิง
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ.2560-2664. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.
นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2558). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่1. มหาสารคาม: คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ (Managing Chang and Organization Development). กรุงเทพ ฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
ปรียาพร สุบงกช. (2559). แนวทางการบริหารการพัฒนากลุ่มสตรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการ บริหารและการพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04