การเสริมสร้างสันติภาพในสังคมด้วยหลักกตัญญูกตเวทิตาธรรม

ผู้แต่ง

  • ประภาส แก้วเกตุพงษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิเชียร แสนมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สันติภาพ, กตัญญูกตเวทิตา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเสริมสร้างสันติภาพด้วยหลักกตัญญูกตเวทิตาธรรม จากการศึกษาพบว่า ความกตัญญูคือการรู้อุปการะที่บุพการีทำไว้ก่อน กตเวทิตาก็คือทำการตอบแทนผู้มีพระคุณทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น คุณบิดามารดาด้วยการบำรุงเลี้ยงดู ทำให้เกิดความสบายกายสบายใจและยังรวมถึงบุคคลอื่น กตัญญูกตเวทิตาธรรมนั้นสามารถทำให้สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่มีความสงบสุขได้ เพราะสามารถรักษาและประคับประคองจิตใจของมนุษย์ในสังคมให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี และยังสามารถนำไปปฏิบัติกับสัตว์สิ่งของและธรรมชาติได้อีกด้วย กล่าวคือตั้งแต่มนุษย์ด้วยกันจนถึงสรรพสัตว์และธรรมชาติแล้ว สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน อันเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่เสริมสร้างสันติภาพในสังคมได้

References

เอกสารอ้างอิง
พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ). (2536). กตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระสิริมังคลาจารย์. (2544). มังคลัตทีปนี แปล เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2515). พุทธจริยา. กรุงเทพฯ: หจก.การพิมพ์พระนคร.
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04