การประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน 4 ในการบริหารองค์กร
คำสำคัญ:
สติปัฏฐาน 4, การจัดการองค์กรบทคัดย่อ
สติปัฏฐาน คือ การตั้งสติสัมปชัญญะเพียรพิจารณากาย เวทนาจิต และธรรม เพื่อกําจัดความทุกข์ทั้งปวง การตั้งสติกําหนดพิจารณาในสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงคือตามที่สิ่งนั้นๆมันเป็นของมันเอง แบ่งเป็น 4 ประการคือ 1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(การพิจราณารู้กายในกาย) 2.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การพิจราณารู้เวทนาในเวทนา) 3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(การพิจราณารู้จิตในจิต) และ 4.ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การพิจราณารู้ธรรมทั้งหลายในธรรมทั้งหลาย)การนำหลักสติปัฏฐานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จักทำให้เกิดการพัฒนาในชีวิต 3 ด้าน คือ 1. การเรียนรู้ ทำให้มีสมาธิมั่นคง มีความทรงจำแม่นยำ แจ่มชัด ไม่พร่า ไม่เลือนง่าย 2. ด้านคุณภาพชีวิต คนที่ฝึกจิตแล้ว จิตจะมีลักษณะมีพลัง สงบ แจ่มใส นุ่มนวล ควรแก่งาน อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ทำให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ 3. ด้านสังคม เป็นคนมีศีล ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อใครๆ ในสังคมสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นคนมีสมาธิ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแบบอย่างหรือประจักษ์พยานให้คนในสังคมเห็นว่าคนที่มีสุขภาพจิตดีนั้นชีวิตจะมีแต่ความราบรื่น สงบเย็น และเป็นสุข เป็นคนมีปัญญา ทำให้ทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของสังคมเป็นที่พึ่งของตนได้ เป็นที่พึ่งของสังคมและประเทศชาติได้ ร่วมเป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่องค์กรไหนหรือทำงานที่ไหนก็ทำให้องค์กรนั้นๆ มีความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
References
ฐิตวณฺโณภิกฺขุ. (2546). วิปัสสนาภาวนา. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่10.
กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จํากัด.
ชีพปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่16. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) รจนา พระพรหมโมลี ตรวจชําระ. (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. แปลและเรียบเรียงโดยพระคันธสาราภิวงศ์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:
ห้างหุ้นส่วนจํากัดไทยรายวันการพิมพ์.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. (2540). วิทยาการ