การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พระปลัดวุฒิพงษ์ กิตฺติวณฺโณ วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์
  • พระครูปริยัติพัชรธรรม วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์
  • พระมหาธนกร กิตฺติปฺญฺโญ วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์
  • พระสมุห์ชาญชัย ญาณชาโต วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ, พระพุทธศาสนา, โรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุและสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในพระพุทธศาสนา และ ศึกษาวิเคราะห์ประเมินผลการนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงเอกสาร และคุณภาพในภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง 8 แห่ง มีสาเหตุและสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน ด้วยบริบทและแนวคิดของผู้สูงอายุแต่ละโรงเรียนแต่ละท่านได้พูดถึงสาเหตุและสภาพปัญญาที่ผู้สูงอายุอยากเข้ามาเรียน คือ อยากมีความรู้ อยากมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย อยากมีเพื่อน อยากมีวิชาชีพทำกับเพื่อนๆ เพื่อคลายเหงาและซึมเศร้าของผู้สูงอายุเอง ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง 8 แห่ง คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากในอยู่หัวข้อธรรมทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้ คือ ไตรสิกขา 3 ภาวนา 4 อายุสธรรม 5 อิทธิบาท 4 สัปปายะ 7  โพชฌงค์ 7  หลักธรรมทั้งหมดผู้สูงอายุนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองที่แตกต่างกันออกไป ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง 8 แห่ง คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ประเมินผลการนำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุส่วนมากแนวคิดของแต่ละท่านจะแตกต่างกันออกไป จากจำนวนโรงเรียนทั้ง 8 แห่ง แต่ละแห่งโรงเรียนผู้สูงอายุมีแนวคิดแตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านทางจิตใจ การอยู่ร่วมกันในสังคม เศรษฐกิจ และมีรายได้ในแต่ละด้านผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง 8 แห่ง มีแนวคิดการนำหลักธรรมมาใช้ของแต่ละท่านแตกต่างกันออกไป สรุปผลการศึกษา การดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ จากความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงทั้ง 8 แห่ง มีสาเหตุและสภาพปัญหาที่แตกต่างกันออกไปตามแนวความคิด หลักธรรมที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน การวิเคราะห์ประเมินผลการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไปตามแนวคิดของผู้สูงอายุ  ส่วนปัญหาต่าง ๆ และอยากให้ผู้วิจัยช่วยแก้ไขปัญหา คือ ให้ช่วยแก้ปัญหาทางด้านงบประมาณเพราะงบประมาณไม่มีเพียงพอสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ  มีครูทำการสอนที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น ให้มีหลักสูตรผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐาน อยากให้มีพยาบาลเข้ามาช่วยรักษาเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนอยากให้พระสงฆ์เข้ามาช่วยพัฒนาจิตใจของผู้สูงอายุให้มากขึ้น ทั้งหมดเป็นปัญหาและให้ช่วยแก้ไขของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์

References

เอกสารอ้างอิง
กุลยาตันติผลาชีวะ. (2551). การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กิจเจริญ.คณะกรรมกา
แผนกตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). มงคลทีปนีเล่ม 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
จิรวุฒิ ศิริรัตน์. (2546). การจัดสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ในทัศนะของผู้ปฏิบัติงาน. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จุฑา จิรชีวะ. (2553). หนังสือคัมภีร์พบความสุขหลังเกษียณปฏิบัติธรรมอยู่บ้าน. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.
เฉก ธนะสิริ. (2550). ทำอย่างไร จะปราศจากโรคและชะลอความแก่, กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
เดชา เส็งเมือง. (2539). พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท. วิทยานิพนธ์ ศิกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทียมศรี คำจักร. (2536). พุทธธรรมกับปรัชญาการรักษาโดยกิจกรรมบำบัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์. (2546). ความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ต่อบทบาทการให้บริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์สังคมศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2538). ปรัชญา 201 พุทธาศาสน์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้า.
นิตยา ศรีสังวาล. (2541). อนามัยสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
นิศารัตน์ ศิลปะเดช. (ม.ป.ป.). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: พิศิษการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04