การสร้างปราสาทหินในอีสานใต้

ผู้แต่ง

  • สรเชต วรคามวิชัย ศูนย์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านบุรีรัมย์โรงเรียนแกะสลักหินทราย

คำสำคัญ:

ปราสาท, หิน, อีสานใต้

บทคัดย่อ

ในงานชิ้นนี้ มุ่งศึกษาถึงแนวคิด ความหมาย และความสำคัญ แหล่งที่มาของหินในการสร้างปราสาท ข้อมูลทางธรณีวิทยาและการเปรียบเทียบในปัจจุบัน โดยใช้การศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ และการลงศึกษาภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า ปราสาท หมายถึง สิ่งปลูกสร้างชั้นสูงเป็นที่ประทับของเทพเจ้าเหล่าเทวดา และองค์ราชามหากษัตริย์ ศาสนาทั้งหลายมีความเชื่อว่าภูเขาเป็นที่อยู่เบื้องต้นของเทพเจ้า ภูเขาเป็นที่สูงและมียอดเทวาลัยจึงถูกทำให้มียอดด้วย ดังนั้น เทวาลัยจึงนิยมสร้างด้วยหินหรือใช้หินเป็นหลัก ผู้สร้างเทวาลัยยุคแรก ๆ อาจคิดว่าเทพเจ้าท่านเคยชินกับภูเขา  จึงนำหินจากภูเขามาสร้างเทวาเป็นเทวาลัยถวายท่าน ภาคอีสานนั้นมีพื้นที่ใหญ่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย และที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ราบสูงโคราช กับที่ราบสูงภูพาน ข้อมูลทางธรณีวิทยานั้น มีการแบ่งช่วงอายุหินไว้หลากหลาย นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับความเป็นมาของปราสาทขอมในเขตอีสานใต้โดยภาพกว้าง ดังนั้น การสร้างปราสาทขอม ในพื้นที่อีสานตอนใต้ของประเทศไทย และความเชื่อทางศาสนาที่เป็นพลังผลักดันในการสร้างปราสาทขอม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมขอมที่มีความโดดเด่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

References

เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. กองโบราณคดี. (2530). ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์.
ไพศาล ตระกูลลี้. (2545). วีรบุรุษนิรนาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศร.
แสงโสม เกษมศรี. ม.ร.ว. และ วิมล พงศ์พิพัฒน์. (2539). ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04