ศิวลึงค์ : ศาสนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์

ผู้แต่ง

  • สมมาตร์ ผลเกิด มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ศิวลิงค์, ศาสนาพราหมณ์, ศักดิ์สิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึง ความหมาย กำเนิด รูปแบบ การนับถือ พิธีบูชาเครื่องบูชา อานิสงส์ และอำนาจของศิวลิงค์. โดยการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ และการลงศึกษาภาคสนาม. ผลจากการศึกษา พบว่า ศิวลิงค์นั้น เป็นวัตถุทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตรีมูรติ. สำหรับรูปแบบของศิวลิงค์นั้นมี 5 รูปแบบ คือ (1) แบบแท่นกลมทรงกระบอก 2. แบบแท่นกลมทรงกระกอบ 3. แบบแท่งหินธรรมชาติ (4) แบบสมมติเอาสิ่งธรรมชาติแทนศิวลึงค์ และ (5) แบบผสม ในวัฒนธรรมฮินดู. การกราบไหว้บูชาศิวลึงค์เป็นเรื่องปกติที่กระทำสืบต่อกันมานานนับพันปีแล้ว เพราะถือว่าศิวลึงค์เป็นตัวแทนของพระศิวะ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์. การกระทำศิวบูชา ชาวฮินดูจะกระทำวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น  ต่อหน้าศิวลึงค์ในเทวาลัย โดยมีพราหมณ์ที่เรียกว่าไศเวศ เป็นผู้นำในการประกอบพิธี. ตามความเชื่องของชาวฮินดูนั้น การบูชาศิวลึงค์ที่ทำจากทองคำนั่น จะทำให้มีฐานะมั่งคั่ง ร่ำรวย  ถ้าบูชาศิวลึงค์ด้วยข้าวสุกหรือข้าวสารจะทำให้มีอาหารสมบูรณ์.  อำนาจของศิวลึงค์นั้นมีมากเกินกว่าคำบรรยาย  ทั้งนี้ก็เพื่อขอความก้าวหน้า ความสมหวัง และขอพลังวิเศษต่าง ๆ  ที่ไม่ธรรมดา จากองค์ศิวลิงค์นั่นเอง.

References

เอกสารอ้างอิง
สุภัทรดิศ ดิสกุล. ม.จ. (2514). ศิลปะขอมเล่ม 1,2,3,. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. มรว. (2523). การศึกษาทับหลังแบบเขมร ในหน่วยศิลปะการที่ 6 (พิมาย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
สมลักษณ์ วงษ์รัตน์. (2551). ตรึงน้ำตาที่ประสาทขอม. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตการพิมพ์จำกัด.
สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล. (2551). ประวัติศาสตร์และศิลปะแห่งอาณาจักรขอมโบราณ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (2555). ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.
Free man M..and Jaegues C. (2005). Ancient Angkor. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Co.Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04