พุทธจิตวิทยา: ความรับผิดชอบต่อสังคม

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ ขันแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • พระมหาพจน์ สุวโจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • รุ่งสุริยา หอมวัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, ความรับผิดชอบ

บทคัดย่อ

การรับผิดชอบสังคมเป็นแนวคิดที่มีหลักการและเป้าหมายตามหลักสากลและตามแนวพระพุทธศาสนาคล้ายกันเน้นประโยชน์ส่วนรวม (อุภยัตถะ) โดยเฉพาะสมัยพุทธกาลมีการดำเนินธุรกิจ ค้าขายที่เน้นส่วนเกินเพื่อสังคม แต่วิธีการที่เป็นลักษณะรูปแบบกระบวนการและกิจกรรมระหว่างสมัยพุทธกาลและปัจจุบันทั่วไปแตกต่างกัน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทางบริบทสังคมมีส่วนอย่างมากต่อการทำซีเอสอาร์ในปัจจุบัน เพราะเน้นประโยชน์สุขส่วนรวมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในทำนองเดียวกับแนวคิดความรับผิดชอบสังคมตามแนวพระพุทธศาสนาที่สำคัญเน้นการพึ่งพาอาศัยกัน (ปฏิจจสมุปบาท)  ซีเอสอาร์มีทัศนคติ (ทิฏฐิ) ที่เป็นบวก (สัมมาทิฏฐิ) เป็นฐานมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนอย่างเป็นเสมือนมนุษย์ผู้ที่ต้องการสุข เกลียดทุกข์ และปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันตามหลักแห่งสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมโปร่งใส ไม่ทุจริต แต่ประเด็นแตกต่าง พระพุทธศาสนามองกว้างไปจนถึงสิทธิสัตว์ด้วย การเว้นมิจฉาวณิชชา 5 ประการ ข้อการเว้นค้าขายสัตว์สำหรับฆ่า  และนอกจากนี้ซีเอสอาร์ตามแนวพุทธศาสนาทำได้ 3 สถานการณ์ คือ 1) เมื่อผู้อื่นปกติ 2) เมื่อผู้อื่นประสบความทุกข์ยากลำบาก และ 3) เมื่อผู้อื่นประสบสุขความสำเร็จ ด้วยช่องทางทั้ง 4 คือ 1) ด้วยกำลังทรัพย์หรือทุนกำลังความรู้ 2) กำลังเรี่ยวแรง 3) ด้วยกำลัง (พลัง) สื่อสาร 4) ด้วยกำลังใจการร่วมเผชิญและแก้ปัญหา (สังคหวัตถุ) นำไปสู่สังคมเป็นสุข และบริษัทก็อยู่ได้อย่างมีความสุขเช่นกัน ด้วยหลักการพึ่งพาอาศัยกันผ่านการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม ธุรกิจมีเสรีภาพที่มาพร้อมกับเจตนาที่รับผิดชอบทั้ง 3 กาลคือก่อนทำ กำลังทำ และทำเสร็จแล้ว

References

เอกสารอ้างอิง
1) หนังสือ
ทะไลลามะและลอเรนซ์ แวน เดน มิวเซนเบิร์ก. (2552).วิถีแห่งผู้นำ (The Leader’s Way), แปลโดยศมณ สุวรรณรัตน์. กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุคส์.
พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตโต). (2543).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสื่อตะวันจำกัด.
พระธรรมปิฏก. (2549).เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก จำกัด.
_________.(2543).พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
_________.(2543).เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535).พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_________. (2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_________. (2532).อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.
_________. (2539).ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
Dalai Lama, (1977).Universal Responsibility and The Good Heart.Dharamsala: Library of Tibetan Works and Archives.
_________. (1995).The World of Tibetan Buddhism,trans.&ed by Dr. ThuptenJinpa. Boston: Wisdom Publications.
_________. (1995). Universal Responsibility and The Good Heart.Dharamsala:
Library of Tibetan Work & Archives.
2) วิทยานิพนธ์ / ดุษฎีนิพนธ์ / สารนิพนธ์ / รายงานการวิจัย
พระมหาสุทิตย์อาภากโร (อบอุ่น),ดร. (2551)." CSR : บทบาทและความสัมพันธ์กับองค์กรพระพุทธศาสนา", ในรวมบทความทางวิชาการทางพระพุทธศาสนากับจริยศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15