แนวคิดความยุติธรรมที่พึงประสงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระราชปริยัติวิมล มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระมหาสากล สุรภเมธี มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระใบฎีกานรินทร์ สีลเตโช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สงวน เหล่าโพนทัน มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระมหาใจสิงห์ สิริธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความยุติธรรมที่พึงประสงค์, หลักพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

หลักธรรมเกี่ยวกับความยุติธรรมหรือคำสอนที่สามารถศึกษาได้ในมิติของความยุติธรรม ประกอบด้วย หลักอธิปไตย 3 อคติ 4 อริยสัจ 4 ศีล 5 มัจฉริยะ 5 ทิศ 6 สาราณียธรรม 6 อริยมรรคมีองค์ 8 และอกุศลกรรมบถ 10 โดยที่หลักอริยสัจ 4 เป็นธรรมสำคัญที่สุด เพราะครอบคลุมหลักธรรมอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งหลักธรรมนี้ได้อธิบายให้รู้ถึงความเป็นธรรมชาติระหว่างความเป็นเหตุกับความเป็นผลทั้งในมิติด้านปฎิฐาน (เชิงบวก) และมิติด้านนิเสธ (เชิงลบ) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งต่างๆ ทั้งในระดับจุลภาคและมหัพภาค ในส่วนของหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับความยุติธรรม ซึ่งได้แก่ พระวินัยทั้งหลายทั้งที่เป็นสิกขาบทและหลักนิคหกรรม อันเป็นการแสดงออกถึงการเข้าใจอย่างยุติธรรมแก่สถานภาพของบุคคลตามความเหมาะสมโดยปราศจากซึ่งการเบียดเบียนและทำลายชีวิต แต่เป็นการให้โอกาสผู้ได้กระทำผิดมีความสำนึกความผิดในการกระทำที่ได้ทำผิดไปแล้วนั้นและเปลี่ยนแปลงความประพฤติใหม่ในแนวทางที่ดีงาม และพระวินัยนี้มีผลต่อการปรับปรุงชีวิตของผู้ปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนในระดับสังคม

แนวคิดความยุติธรรมที่พึงประสงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม 2) วิธีการปฏิบัติ และ 3) กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยุติธรรม แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมคือหลักธรรมและหลักพระวินัยโดยภาพรวม เฉพาะหลักธรรมประกอบด้วย 1) หลักธรรมเพื่อส่งเสริมความยุติธรรม ได้แก่ อธิปไตย 3 ศีล 5 ทิศ 6 สาราณียธรรม 6 และอริยมรรคมีองค์ 8 2) หลักธรรมที่ควรละเว้น ได้แก่ อคติ 4 และมัจฉริยะ 5 และ 3) หลักธรรมสำหรับเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมคืออริยสัจ 4 ซึ่งครอบคลุมหลักธรรมอื่นๆ ทั้งหมด วิธีการคือการนำเอาอธิกรณสมถะ 7 มาประยุกต์ใช้ส่วนกระบวนการปฏิบัติอันจะนำไปสู่ความยุติธรรมได้คือนิคหกรรม ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันได้ เพราะนิคหกรรมมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ทำผิดได้สำนึกตนและปรับเปลี่ยนความประพฤติของตนใหม่ไปในทางที่ดีขึ้น และมีแนวทางปฏิบัติที่หลากหลายตามความ เหมาะสมกับสภาพของปัญหาที่มีความขัดแย้ง

References

เอกสารอ้างอิง
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม,
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ.
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอุดม สารเมธี. (2557). ยุติธรรม : ความยุติธรรมนั้นสำคัญนัก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาเปรียญ.
พุทธทาสภิกขุ. (2527). เป้าหมายชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส
อินทปัญโญ.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). อิทัปปัจจยตา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2549.
ชลากร เทียนส่องใจ. (2553). “การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางเชิงพุทธ : หลักการและเครื่องมือสำหรับ
การจัดการความขัดแย้ง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2547). “รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษา
วิเคราะห์กรณีลุ่มน้ำตาช้าง จ. เชียงใหม่ ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15