ความสุขในมุมมองของพระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
ความสุข, มุมมองบทคัดย่อ
ในปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่า “แม้การเกิดก็เป็นทุกข์” จึงทำให้คนบางส่วนเห็นว่าพระพุทธศาสนามองโลกในแง่ร้าย แต่ความเป็นจริงนั้น พระพุทธเจ้าทรงอธิบายถึงความเป็นเหตุเป็นผล และในขณะเดียวกันนั้นก็ทรงแนะให้มองในทางกลับกันก็ได้ว่า เมื่อมีทุกข์ก็ต้องมีสุข เหมือนมีมืดก็มีสว่างฉันนั้น ดังนั้น ในพระไตรปิฎก คำว่าความสุขจึงได้จัดพระพุทธพจน์ไว้ในคัมภีร์พระธรรมบท ภายใต้หมวดธรรมว่า “สุขวรรค”
จากการศึกษาในหมวดธรรมในสุขวรรคดังกล่าวนั้นพบว่า ความสุขเป็นสภาพที่ตรงกันข้ามจากความทุกข์ กล่าวคือความทุกข์อันเกิดจากการวิวาท, ความทุกข์อันเกิดจากการมีกิเลสภายใน, ความทุกข์อันเกิดจากการสู้รบ, ความทุกข์อันเกิดจากการบริหารขันธ์ 5, ความทุกข์อันเกิดจากความหิวโหย, ความทุกข์อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ และความทุกข์อันเกิดจากการคบคนชั่ว เมื่อบำบัดทุกข์ได้แล้ว ความสุขก็ปรากฏ
สรุปได้ว่า ความสุขในพระพุทธศาสนามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือสุขกายกับสุขใจ หรือสุขในระดับโลกคือโลกิยสุข และสุขในระดับเหนือโลกคือโลกุตรสุข