การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนต้นแบบตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา
คำสำคัญ:
เยาวชนต้นแบบ, การปฏิรูปการศึกษา, อัตลักษณ์เยาวชนไทยในยุคศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนต้นแบบตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิรูปการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความแตกต่างของท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคมที่เป็นจริง โดยเน้นการปฏิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลไปถึงเรื่องของการวัดและประเมินผล สถานศึกษาจะต้องมีบทบาทในการจัดการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จจึงต้องอาศัยครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนและการถ่ายทอดความรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารงานและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนต้นแบบตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกโฉมหน้าการศึกษาให้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน ทั้งการลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าไปด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้างอนาคตของชาติ สร้างคุณภาพประชากรอันจะนำไปสู่คุณภาพของชีวิตที่ดี การปฏิรูปการศึกษาควรมีเป้าหมายที่จะสร้างคนให้มีคุณภาพ มีความรู้ มีจิตสำนึก ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติได้ การเสริมสร้างคุณลักษณะเยาวชนต้นแบบตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาจำเป็นต้องเน้นการเรียนรู้ทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสิ่งต่างๆ รอบตัวซึ่งจะต้องเชื่อมโยงกันทั้งหมด
References
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2560). การปฏิรูปการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนอนาคตประเทศ. ศูนย์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
นันทนา วงษ์อินทร์. ( 2546). เพื่อเด็กและครอบครัวไทย. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์.
นาตยาปิลันธนานนท์. (2542). การศึกษาตามมาตรฐาน: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แม็ค จำกัด.
ปิยธิดา บุนนาค. (2560). เส้นทางการปฏิรูปการเรียนรู้ : หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาขั้น
พื้นฐาน. เชียงราย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ.
ปองสิน วิเศษศิริ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศ
สหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
พจนา วลัย. (2557). การศึกษาไทยกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม : การสร้างประชาธิปไตย
ในห้องเรียน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน.
พัชรกฤษฎิ์ พวงนิล. (2553). กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้น
พื้นฐานของรัฐในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รักกิจ ศรีสรินทร์. (2554). การเรียนรู้ตลอดชีวิต. กองการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย.
วิลาสินี จะโลนา. (2561). อัตลักษณ์เยาวชนไทยในยุคศตวรรษที่ 21. สำนักงานคณบดี บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา. (2559). การปฏิรูปการศึกษาในอาเซียน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ทิศทางของแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564; กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).
สิปปนนท์ เกตุทัต. (2560). การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการประชุมสภาการศึกษา. ครั้งที่ 2/2552 เมื่อที่
4 มิถุนายน 2552.
สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-
2561). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม. (2558). อัตลักษณ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ ปริทัศน์. ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม –
มิถุนายน พ.ศ. 2558.
อัญญรัตน์ นาเมือง. (2560). การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย. ระนอง : โรงเรียนเทศบาลวัด
อุปนันทาราม.
ออมสิน จตุพร. (2561). การปฏิรูปการศึกษาอ้างอิงมาตรฐาน: ว่าด้วยภาคปฏิบัติการจริงของเสรีนิยม
ใหม่ ในระบบโรงเรียนของรัฐ. สาขาวิชาสังคมศาสตร์การศึกษา ภาควิชาพื้นฐานและการ
พัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Hursh, D. (2003). Discourse, Power and Resistance in New York: The Rise of Testing
and Accountability and the Decline of Teacher Professionalism and Local Control. Discourse, Power, Resistance: Challenging the Rhetoric of Contemporary Education. Stoke on Trent, UK: Trentham Books.