การศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
คำสำคัญ:
สมรรถนะ,, การปฏิบัติการสอนประสบการณ์วิชาชีพครู,, มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาการประถมศึกษา โดยการใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายวิชาชีพครู จำนวน 4 คน ครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนเครือข่ายวิชาชีพครู จำนวน 10 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นความสอดคล้องภายในโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการวิจัยพบว่า การวิจัยเรื่องการศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สรุปผลการวิจัยได้ สมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา จำแนกตามสถานภาพ คือ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษา รายด้านและรายรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมวิชาการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กิตติมา เก่งเขตรกิจ, เกียรติศักดิ์ ล้วนมงคล และอรอุมา สอนง่าย. (2562). การศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณวิชาชีพครู สาขาศิลปศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศึกษาศาสตร์, คณะ. (2556). แผนยุทธศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ (พ.ศ. 2556-2560). ร้อยเอ็ด: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
______ . (มปป.). คู่มือการปฏิบัติการในสถานศึกษา. ร้อยเอ็ด: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
______ . (มปป.). แบบประเมินการฝึกปฏิบัติการในสถานศึกษา. ร้อยเอ็ด: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
งานเลขาธิการคุรุสภา, สำนัก. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานมาตรฐานวิชาชีพ กลุ่มมาตรฐานและจรรยาบรรรณวิชาชีพ.
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา อรอนงค์ วูวงศ์ และพัฒน์นรี อัฐวงศ์. (2554). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ (Professional ExperiencesTraining in Education of Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus). รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. กรุงเทพฯ.
โชติ แย้มแสง. (2558). สาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณิชาภา เจริญรูป และณัฐพงษ์ จรทะผา. (2560). แนวทางการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสู่ความเป็น พลเมืองในศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2554). การออกแบบการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือวัด. เอกสารประกอบคำบรรยาย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก.
วิชิต เทพประสิทธิ์. (2552). การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยระบบปรับเหมาะการเรียนแบบปฏิบัติจริงตามวิธีการคอนสตรัคติวิสต์สำหรับข้าราชการกระทรวงพลังงาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาดา ลดาวัลย์ และถวิล ลดาวัลย์. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติการสอนในโรงเรียนของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2557) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Guidelines to Develop Performance Potential of Students in theTeaching Profession Graduate Diploma Program (Revised Curriculum 2557) of North EasternUniversity. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(25), 157-171.