การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้าสู่พาณิชย์ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวัน จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • โสรฌา เครือเมฆ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ชุติมา สังคะหะ

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ชุมชน เครื่องจักสาน ผ้าขาวม้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์  2) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์ และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้าของชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงคีรีวัน จังหวัดนครนายก  แบบของการวิจัยเป็นการผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นกรรมการศูนย์วัฒนธรรมชุมชนไทยเวียง คีรีวัน หรือเป็นผู้ที่ยังคงทำอาชีพผลิตหรือจำหน่ายเครื่องจักสานไม้ไผ่ และอาชีพทอผ้าผ้าขาวม้า จำนวน 6 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค จำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

           ผลการวิจัย พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้าของชุมชนวัฒนธรรมไทย เวียงคีรีวัน ได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์มาจากความเชื่อของชาวไทยเวียง วัสดุหลัก คือ ไม้ไผ่ หรือเส้นตอก และตกแต่งด้วยผ้าขาวม้า ใช้วิธีการจักสานลวดลายแบบขัด สำหรับใช้งานและเป็นของขวัญ ของฝาก ของที่ระลึก จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พวงกุญแจ ที่ใส่แก้วน้ำเก็บความเย็น กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่เอกสาร และโคมไฟ ทั้งนี้ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากทุกผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ใส่แก้วน้ำเก็บความเย็น และโคมไฟ มีคะแนนความคิดเห็นมากที่สุด
(  = 4.34 ) รองลงมา คือ กระเป๋าถือ พวงกุญแจ กระเป๋าใส่เอกสาร (  = 4.20, 4.19, 4.01 ตามลำดับ) และพบว่า ทุกผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคมีความคิดเห็นในด้านการออกแบบ ด้านราคา และ
ด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมาก และเมื่อทำการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ตกแต่งผ้าขาวม้า พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต

 

References

กัมพล แสงเอี๊ยม. (2562). จากติวเตอร์สอนศิลปะ สู่บทบาทอาจารย์หัตถอุตสาหกรรม
ผู้ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน. (ออนไลน์). Available: https://tu.ac.th/
thammasat-fineart-industrial-crafts-design-kamphon-saeng-iam.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
จง บุญประชา. (2553). แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึก. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จิราพร มะโนวัง วาสนา เสภา และธงชัย ลาหุนะ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัยครั้งที่ 13 วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560 (หน้า 926-936). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธันยมัย เจียรกุล. (2555). พฤติกรรมการผูบริโภคและปจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑไมไผของผูบริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1), 43-62.
พิกุล พุทธมาตย์. (2556). การออกแบบผลิตภัณฑ์. (ออนไลน์). Available: https:// https://www.gotoknow.org/posts/381986.
วาด ยาเย็น. (2560). หัตถกรรมผักตบชวา สร้างเงิน แต่งสีสัน ขายความต่าง โดนใจวัยรุ่น ตีตลาด
ออนไลน์. (ออนไลน์). Available: http://peach.sakonshop.com/2020/08/03.
สรวงพร กุศลส่ง และ รสรินทร์ ขุนแก้ว. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากกระดาษใบมะขาม. (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และปิยวัน เพชรหมี. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย: กรณีศึกษา ผ้าทอลายโบราณ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 10(4),
62-85.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. (ออนไลน์). Available: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23