ปัจจัยทางจิตสังคมและความสุขใจที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วิรัตน์ ภูทองเงิน วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ภัฏชวัชร์ สุขเสน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พลนภัส แสงศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • สถาพร ภาคพรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระมหาวิชาญ สุวิชาโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางจิตสังคมและความสุขใจ, พฤติกรรมการเรียน, ประสิทธิภาพ, นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่องปัจจัยทางจิตสังคมและความสุขใจที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนอย่างมี

ประสิทธิภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมและความสุขใจที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ และลักษณะทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 3) เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมและความสุขใจที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ

              ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขในการเรียน คือ สถานที่เรียนเหมาะสมกับตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับสถานศึกษาได้ เข้ากับเพื่อนร่วมเรียน มีรายได้เพียงพอ สวัสดิการ ในเรื่องที่พัก อาหาร มีสถานที่ออกกำลังกาย อุปกรณ์ในการออกกำลังกาย และระยะเวลาในการเดินทางมาเรียน การสร้างความสุขในการเรียนรู้ด้านสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงจึงทำให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ และลักษณะทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย มีองค์ประกอบ 6 ประการคือ 1) การมีอิสระในการตัดสินใจและพึ่งตนเองได้ (Autonomy: AU) 2) ความสามารถในการจัดการสภาพแวดล้อม (Environment Mastery: EM) 3) ความงอกงามในตนเอง (Personal Growth: PG) 4) การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น (Positive Relations with others: PR) 5) การมีเป้าหมายในชีวิต(Purpose in Life: PL) 6) การยอมรับตนเอง (Self-acceptance: SA)
  3. องค์ประกอบการสร้างความสุขในการเรียนรู้ มี 16 องค์ประกอบ คือ 1) ครอบครัวดี (Good Family) 2) ความมีน้ำใจ (Kindness) 3) การพัฒนาตนเอง (Self Development) 4) ความรอบคอบ (Careful) 5)การให้ (Giving) 6) ความเสมอต้นเสมอปลาย (Consistency) 7) การปล่อยวาง (Release) 8) ความรับผิดชอบ (Responsibility) 9) การสื่อสารที่ดี (Good Communication) 10) การเป็นแบบอย่างที่ดี (Being a Good Role Model) 11) วินัยทางการเงิน (Financial Discipline) 12) สัมพันธภาพ (Relationships) 13) ความภาคภูมิใจ (Pride) 14) ความขยัน (Diligence) 15) คุณธรรม (Moral) 16) สุขภาพดี (Health)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23