หลักวิสุทธิกับการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ผู้แต่ง

  • พระเทพ โชตฺตินฺธโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระราชวิมลโมลี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

หลักวิสุทธิ, วิปัสสนาภาวนา, คัมภีร์วิสุทธิมรรค

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักวิสุทธิในคัมภีร์วิสุทธิมรรค หลักวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และหลักวิสุทธิกับการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้การศึกษาข้อมูลพระไตรปิฎก และเอกสารงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า หลักวิสุทธิในคัมภีร์วิสุทธิมรรคประกอบด้วย คือ 1) ศีลวิสุทธิ 2) จิตตวิสุทธิ 3) ทิฏฐิวิสุทธิ 4) กังขาวิตรณวิสุทธิ 5) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ 6) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ 7) ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นหลักธรรมที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และปฏิบัติ ศีล สมาธิ และปัญญาเป็นหลักหลักวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ประกอบด้วยวิปัสสนาภูมิ คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจ์ 4  ปฏิจจสมุปบาท 12 เป็นการเห็นแจ้งของรูปธรรมกับนามธรรม เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง รูปและนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นปัญญาประจักษ์แจ้งความจริงของวิปัสสนาปัญญาที่สามารถทำลายกิเลสลงได้ ทำให้ความทุกข์เบาปางลงด้วยปัญญาในการเจริญวิปัสสนาภาวนาหลักวิสุทธิกับการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ต้องปฏิบัติผ่านแนวทางของหลักวิสุทธิ 7 คือ ศีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณ วิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ วิสุทธิ 2 คือ ศีลวิสุทธิกับจิตวิสุทธิเป็นความบริสุทธิ์ที่ต้องอาศัยความหมดจด จนเกิดวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นปัญญาในการพัฒนาทำให้วิสุทธิอีก 5 เป็นผลทำให้เกิดปัญญาอันบริสุทธิ์ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิเตอร์ เอ. แจ็กสัน (peter A. Jackson). (1991). พุทธทาสภิกขุ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และการปฏิรูปเชิงนวสมัยนิยมประเทศไทย. แปลและเรียบเรียงโดย มงคล เดชนครินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้นห์.

คณาจารย์ มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2535). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมูลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด,

พระสิริชัย เขมจิตฺโต (เรืองธารา). (2560). “ศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในฉฉักกสูตร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชาวิทยาลัย.

แม่ชีวรรนรักษ์ ธนธรรมทิศได้วิจัย. (2560).“ศึกษาปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเหตุในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชาวิทยาลัย,.

พระสุรจิต ชนาสโภ (ทุมกิจจะ). (2561). “การเจริญวิปัสสนาในขันธสูตร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชาวิทยาลัย.

พระครูพิศาลโชติวัฒน์ (วิฑูรย์ โชติปญฺโญ). (2558). “ศึกษาปาริสุทธิศีลในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชาวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25