การประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุธิรา เภาสระคู โรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
  • เอกฉัท จารุเมธีชน โรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2

คำสำคัญ:

การประเมิน, โครงการ, โรงเรียนสุจริต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบซิปโมเดลใน  5  ด้าน คือ  ด้านบริบท  ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านประสิทธิผลและด้านผลกระทบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวนทั้งสิ้น 119  คน และเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านบริบท พบว่า ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ  ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและชุมชนให้การยอมรับต่อกิจกรรมของโครงการ โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.88) ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ความพร้อมและเพียงพอของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์  เวลาและงบประมาณ  โดยภาพรวม  ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.84) ด้านกระบวนการ พบว่าการบริหารจัดการ การดำเนินการจัดกิจกรรมและการวัดประเมินผล โดยภาพรวม ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.77) ด้านประสิทธิผลพบว่า คุณลักษณะสุจริตทั้ง  5  ประการของนักเรียนโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.72) ด้านผลกระทบ พบว่า ความพึงพอใจ  ความเข้าใจ  ความชอบ การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  (ค่าเฉลี่ย 4.74)  ผลการประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แนวทางในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมของสถานศึกษาทั้ง  5  ด้าน  คือ  ด้านบริบทควรส่งเสริมการมีวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ด้านปัจจัยเบื้องต้น ควรเพิ่มงบประมาณและจัดอบรมบุคลากรให้เรียนรู้งาน ด้านกระบวนการ ควรส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ด้านประสิทธิผลควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ และด้านผลกระทบ ควรส่งเสริมการเรียนรู้และปฏิบัติตามคุณลักษณะ 5 ประการแก่นักเรียน 

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

น้ำฝน วรฉัตร. (2559). “ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงองค์การกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนสุจริต”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยะมาศ ฉายชูวงษ์. (2560). “การประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนประดู่งาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5” . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2564). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร เล่ม 42. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทย.

ฐิติมา เทาศิริ. (2562). “มาตรฐานการบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราภัฏศรีสะเกษ.

ชนธร บุญวัฒน์. (2560). “การศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีการศึกษาโรงเรียนสุจริตอำเภอภาชีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โรงเรียนบ้านแปรง. (2557). รายงานการดำเนินงานต้นแบบโรงเรียนสุจริตกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านแปรง. นครราชสีมา: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5.

พรทิพย์ ไชยมงคล. (2560). “สภาพการดำเนินงานในโครงการโรงเรียนสุจริตกลุ่มโรงเรียนเชียงคสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา.

พลวัฒน์ แจ้งดี. (2563). “การประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนวัชรวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41”. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุภาภรณ์ สุดแสวงและคณะ. (2559). “การประเมินโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบางกอกวิทยาคาร โดย CIPP MODEL”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุพัตรา กุสิรัมย์. (2561). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนเครือข่ายในจังหวัดบุรีรัมย์”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557 ). โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “โรงเรียนสุจริต” ปปช.สพฐ.. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ โรงแรมอิงธารรีสอร์ท อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). มาตรฐานและแนวทางดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.uprightschool.net/. [4 มิถุนายน 2564]

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2560). ประเทศไทยในบริบทไทยแลนด์ ๔.๐ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ..

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25