การสื่อสารเพื่อพัฒนาสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์
คำสำคัญ:
การสื่อสาร, การพัฒนาสังคม, ยุคปัญญาประดิษฐ์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการสื่อสารเพื่อพัฒนาสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์ ในยุคของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้การสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว การสื่อสารนั้นถือเป็นรากฐานสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ เพื่อการรับรู้ สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาวการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความเป็นจริง การสื่อสารเป็นเรื่องของการเรียนรู้ และทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นบทเรียนของกันและกัน การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคมมุ่งเน้นให้คนในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวสาร และการสร้างแรงจูงใจ เน้นบทบาทที่สำคัญต่อการสื่อสารและการพัฒนาสังคม ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญหลักของการพัฒนา และการกำหนดให้กลุ่มคนทุกกลุ่มได้มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมอย่างเท่าเทียม การพัฒนาสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์ ต้องเกิดการเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรมของคน เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการปฏิบัติ วิธีการที่เปลี่ยนแปลง และรูปแบบการพัฒนาที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม และต้องพัฒนาลงลึกถึงฐานรากของคนในสังคม ทั้งในระดับวัฒนธรรมและจิตสำนึก เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน การสื่อสารเพื่อพัฒนาสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์ มีหน้าที่จูงใจให้เปลี่ยนวิถีชีวิต และตัดสินใจเข้าร่วมการพัฒนาสังคมอย่างจริงจัง การสื่อสารในยุคปัญญาประดิษฐ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนการสื่อสารให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น ข้อมูลที่ได้การสื่อสารต้องควบคู่กับหลักกาลามสูตร เพื่อนำมายืนยันความถูกต้อง ตระหนักถึงข้อมูลจากการสื่อสารด้วยการพิจารณาอย่างแยบคาย มีสติ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อนำไปใช้พัฒนาสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ เกิดคุณประโยชน์ และช่วยพัฒนาสังคมให้ดำรงไว้ซึ่งความเจริญในยุคปัญญาประดิษฐ์
References
เอกสารอ้างอิง
กนกพร ฉิมพลี. (๒๕๖๐). “การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม”. บทที่ 4 การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.aritbooks.nrru.ac.th/uploadfiles/books/2-2018-08-30-08-37-50.pdf [ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
กาญจนา แก้วเทพ. (๒๕๔๓). สื่อเพื่อชุมชน การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.
จรัล งามวิโรจน์เจริญ. (๒๕๖๒). “เตรียมรับมือกับภัยคุกคามของ Deepfake”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.sertiscorp.com/20191114 [๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
ทองย้อย แสงสินชัย. (๒๕๖๑). นวกรรม อ่านว่า นะ-วะ-กำ ประกอบด้วยคำว่า นว + กรรม. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://dhamma.serichon.us/2018/05/16/นวกรรม-อ่านว่า-นะ-วะ-กำ-ปร/ [๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (๒๕๕๘). “เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย = Social Network in a NetworkedSociety”. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, ปีที่๘ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม - ธันวาคม): ๑๑๙-๑๒๗.
บุษบา หินเธาว์. (๒๕๕๖). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Communication in Rural Development) บทที่ ๓ การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://elearning.psru.ac.th/courses/153/lesson3finished.pdf [๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
ปรมะ สตะเวทิน. (๒๕๔๖). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. (๒๕๖๔). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร[หลักนิเทศฯ. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://bsci2.com/หลักการและทฤษฎี/ [๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (ม.ป.ป.). “บทที่ ๔ การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.aritbooks.nrru.ac.th/uploadfiles/books/2-2018-08-30-08-37-50.pdf [๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
วริศ ข่ายสุวรรณ, พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร และกรนิษฐ์ ชายป่า. (๒๕๖๒). “กาลามสูตร: หลักความเชื่อในยุคดิจิทัล”. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. ปีที่๔ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๖๒): ๑๗๘-๑๙๔.
สายน้ำผึ้ง รัตนงาม. (๒๕๕๙). “ต้องรู้เท่าทันสื่อแหล ด้วยปัญญากับ ดร.เอ็ม สายน้ำผึ้ง”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/629212 [๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
อำภา สาระศิริ. (๒๕๕๙). “เทคนิคการเรียนรู้พื้นฐานโครงข่ายประสาทเทียม”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.mut.ac.th/research-detail-92 [ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].
NEC. (๒๐๒๐). “Six Technology Areas and Social Value Creation Process”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.nec.com/en/global/rd/tech_domain/index.html [๑๕ เมษายน ๒๕๖๕].