การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, สัมมาชีพชุมชน, เศรษฐกิจฐานราก, ปราสาทขอม, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์” มี4 วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ และ 4) เพื่อศึกษากลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบปฏิบัติการและการออกแบบการวิจัยแบบพัฒนา โดยศึกษาข้อมูลจากการศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 198 รูป/คนและ ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า จากหลักฐานโบราณคดีที่ขุดพบในพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ยังพบแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของชุมชนโบราณยุคโลหะตอนปลายเป็นจำนวนมากแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ และการปกครอง และปราสาทหินที่เก่าแก่ที่สุดและมากที่สุดในประเทศไทย และในประเด็นการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้านทั้งพื้นที่ และความสมบูรณ์ของตัวปราสาทขอมเอง ส่งผลให้ความน่าสนใจของตัวปราสาทขอมมีน้อยลง 2) การพัฒนาสินค้าและรูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า จังหวัดสุรินทร์ มีภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นบัญชี 9 รายการ คชศาสตร์ชาวกูย, เจรียง, กันตรีม ประเกือมสุรินทร์, ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษากูย-กวยท กะโน้บติง รำตร๊ต และ มะม๊วต 2) การพัฒนาสินค้าของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีปราสาทขอมซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนเป็นฐานคติทางความคิด โดยผู้วิจัยได้แบ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุนวัฒนธรรมปราสาทาขอม โดยแบ่งสินค้าใน 3 รูปแบบ คือ (1) ตราสัญลักษณ์สินค้า: ตราสัญลักษณ์สินค้าหรือโลโก้ (Logo) ของแต่ละชุมชมปราสาท โดยมีลวดลายจากปราสาทขอม ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมนำมาออกแบบเป็นตราสัญลักษณ์ (2) กล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ผ้าไหม: ชน โดยใช้ฐานคติทุนทางวัฒนธรรมคือ องค์ปราสาทขอม เป็นต้นแบบการออกแบบ และ (3) แก้วน้ำลายปราสาทขอม: แก้วน้ำใส่แต่มีลวดลายปราสาทขอม ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็นทุนที่ทรงคุณค่า 3) การพัฒนารูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า การพัฒนารูปแบบการบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์นั่น แบ่งรูปแบบการท่องเที่ยวออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนปราสาทขอม: รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ในจังหวัดสุรินทร์มีเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาศาสนาและวัฒนธรรมคือที่สำหรับใช้สัญจรเที่ยวไปมาของมนุษย์ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในระยะเวลาสั้น ๆ จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเส้นทางการท่องเที่ยวปราสาทขอมในงานวิจัยนี้มี 4 แห่ง คือปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี ปราสาทภูมิโปน และปราสาทตาเมือน การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์มีความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวปราสาทขอมหรือการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมกับจังหวัดใกล้เคียง 4) กลไกการจัดการและเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า กลไกที่ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญ นโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวสถานที่โบรารณสถานและการท่องเที่ยวชุมชน กรมศิลปากรณ์โดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสุรินทร์เป็นแหล่งข้อมูลในการให้ความรู้ และเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลรักษาบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทขอม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์และงบประมาณ การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอม ในชุมชนปราสาทขอม 4 แห่งคือ ปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทช่างปี่ ปราสาทภูมิโปนและปราสาทตาเมือน ประกอบด้วยด้านบุคคล ด้านการประสานงาน ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านกระบวนการทำงาน 5) องค์ความรู้ที่ค้นพบ ได้แก่ รูปแบบการพัฒนา “ขอม
สุรินทร์โมเดล (Khmer Surin-Model)”รายละเอียดดังนี้ (1) K= Knowledge คือ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาสู่สากล (2) H =Honesty คือ ความซื่อสัตย์ (3) M= Morality คือ การดำเนินธุรกิจด้วยสัมมาชีพ (4) E= E-commerce คือ สร้างช่องทางธุรกิจในโลกอินเตอร์เน็ต (5) R= Resource คือ ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรม (6) S= Speech คือ สื่อสารสร้างสรรค์ (7) U= Unity คือ ความสามัคคีของชุมชน และ (8) R= Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
References
เอกสารอ้างอิง
เกษราภรณ์ สุพรรณฝ่าย และคณะ. “จิตรกรรมร่วมสมัยจากลวดลายสีสันผ้าไหมทอมือกลุ่มชาติพันธุ์
ไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุรินทร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2, 2017 : 129-140.
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ และคณะ. (2560). “การศึกษาประวัติศาสตร์และเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในอีสานใต้”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัมภาษณ์ ทศ แม้นผล, ผู้นำชุมชน, 22 ตุลาคม 2561.
พระครูวัชรสุวรรณาทร และคณะ. (2562). “การผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: คุณค่าอัตลักษณ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวัฒนธรรมชุนท้องถิ่น” รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุจิตกิตติวัฒน์ และคณะ. (2562). “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเสื่อบ้านท่าแฉลม จังหวัดจันทบุรี”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาผดุงศักดิ์ เสสปุญฺโญ. (2561). “นวัตกรรมการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในล้านนา”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”, กรุงเทพมหานคร: สำนักสนับสนุนขบวนการองค์กรชุมชนและสำนักสื่อสารการพัฒนา.
สมคิด แก้วทิพย และคณะ. (2562). การศึกษาสถานการณ์ ศักยภาพและข้อจำกัดในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาภาคเหนือ.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น. สมาพร คล้ายวิเชียรและคณะ. (2550). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างในอีสานใต้. กรุงเทพมหานคร: รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2550-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดลางและขนาดย่อม (สสว.) (2563). “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ด้วยเกษตรแปรรูป “เศรษฐกิจฐานราก” ทางเลือกใหม่ของประเทศไทย. [ออนไลน์].แหล่งที่มา: <https://sme.go.th/upload/mod_download/download-20181005081823.pdf>, [31 ตุลาคม 2563].
สุพร ประเสริฐราชกิจ. (2537). รวมประวัติและสัญลักษณ์ 76 จังหวัด, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น (1977) จำกัด.
สุริยา คลังฤทธิ์. “อัตลักษณ์ภูมิปัญญาลวดลายผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเมืองสุรินทร์”. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2562: 127-136.
สุวัฒน์ กิขุนทด. (2559). “รวมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สร้างชุมชน “มั่งคง มั่งคัง และยั่งยืน” ใน คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก บรรณาธิการ, กรุงเทพมหานคร: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักงานสื่อการการพัฒนา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).