การศึกษาประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยว ชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระปรัชญา ชยวุฑฺโฒ/ถิ่นแถว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูสาธุกิจโกศล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • นางสาวเกษศิรินทร์ ปัญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • นายเอกรัตน์ มาพะดุง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

การศึกษาประวัติศาสตร์, กิจกรรมการท่องเที่ยว, ชุมชนปราสาทขอม, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาประวัติศาสตร์และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์  2) เพื่อศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนปราสาทขอม จำนวน 26 คน โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนำมารวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประวัติความเป็นมาของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์ จากหลักฐานโบราณคดีที่ขุดพบในพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ยังพบแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของชุมชนโบราณยุคโลหะตอนปลายเป็นจำนวนมากแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ และการปกครอง และปราสาทหินที่เก่าแก่ที่สุดและมากที่สุดในประเทศไทย 2. กิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์จากการศึกษาพบว่าปราสาทขอมมีจำนวน 12 แห่งเท่านั้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และชุมชน สนับสนุนให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ปราสาทขอม โดยนิยมจัดในรูปแบบของการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการแสดงแสง สี เสียง เล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาและตำนานที่เกี่ยวกับปราสาทขอมในแต่ละพื้นที่ และสามารถต่อยอดกิจกรรมในพื้นที่และสร้างเศรษฐกิจในชุมชน 3. การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์หน่วยงานองค์การปกครองในท้องถิ่นที่มีขีดความสามารถในการช่วยบำรุงรักษาและสามารถมาช่วยในการบริหารจัดการขั้นต้นเพื่อดูแลพื้นที่ปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์จึงมีปราสาทขอมเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของจังหวัดได้สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว การบริการในพื้นที่ปราสาท เป็นต้น หากได้รับการพัฒนาต่อจะได้รับความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวเฉพาะที่มีความสนใจเกี่ยวกับปราสาทขอม ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวเหล่านี้คือกลุ่มเฉพาะที่มีจำนวนไม่มากนัก

References

รองศาสตราจารย์ศิริพร สุเมธารัตน์.(2554). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ศิริวรรณ ทาปัญญา. (2552). การอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนารากฐานท้องถิ่นที่เข้มแข็งและยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สมัย สุทธิธรรม. (2537). สารคดีชุดเส้นทางปราสาท ปราสาทศีขรภูมิ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

หม่อมหลวงปนัดดาดิสกุล. (2559). คติธรรมของสมเด็จกรมพระยาดำรง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http//www.prince-damrong.moi.go.th/pdf/buddhist.pdf./

พระธรรมปิฎก (ปอ.ปยุตโต). (2539). ปฏิรูปการศึกษาการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อัษฏางค์ ชมดี. (2555). ประวัติศาสตร์การปกครองจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.

สมบัติ ประจญสานต์. (2544). “สถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่มีแนวคิดในการออกแบบจากปราสาทของ กรณีศึกษา: จังหวัดบุรีรัมย์”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ธิติพงศ์ พิรุณ. (2553). “ปราสาทพนมรุ้ง;แนวทางการอนุรักษ์พิธีกรรมทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธัญญพร เขียมรัมย์. (2554). “แนวทางการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว กรณีศึกษา :ปราสาทหนองหงส์อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์”. วิทยานิพนธ์บริหารธุกกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เทียนชัย ให้ศิริกุล. (2538). “บทบาทของประชาชนท้องถิ่นที่มีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม กรณีศึกษา: ปราสาทหินพนมรุ้งและปราสาทกู่สวนแตง จังหวัดบุรีรัมย์”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27