การดำเนินวิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุภวิชญ์ วังสุขี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • วิชัย โถสุวรรณจินดา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พระปลัดสุระ ญาณธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ลัดดาวัลย์ คงดวงดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

วิถีชีวิตใหม่, การปฏิบัติงาน, บุคลากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครของบุคลากรสำนักงานเขต
มีนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครจำนวน 263 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ใช้ t–test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–way ANOVA) การทดสอบรายคู่ของ เชฟเฟ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 30 - 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้15,000 - 30,000 บาท สถานภาพสมรส และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า  20 ปี 2. การดำเนินวิถีชีวิตใหม่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (   = 4.10, S.D. = .488) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมาก

 

ไปหาน้อย พบว่า ด้านการเว้นระยะห่างทางสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (   = 4.40, S.D. = .553) รองมาได้แก่ ด้านการดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งตัวเองและคนรอบข้าง (   = 4.35, S.D. = .571) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการใช้เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต (   = 3.64, S.D. = .669) 3. เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ของบุคลากรสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส และระยะเวลาการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต. (2564). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.dmh

.go.th/news/view.asp?id=2288. [28 สิงหาคม 2564].

ดลพร รุจิรวงศ์. (2563). COVID-19 : พลิกมุมคิด...วิกฤต หรือ โอกาส. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Covid-19-cover-story [9 สิงหาคม 2564].

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563).“"New Normal" วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ”.

วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3): 371-386.

นงลักษณ์ ทองไทย และ อรไท ชั้วเจริญ. (2563). “ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมในช่วงสภาวะวิกฤติ

การเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิศวกรชีว

การแพทย์”. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปุริศ ขันธเสมา. (2562). “ความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านในช่วงโควิดระบาด โควิด-19 ของกลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

พัชรียา แก้วชู. (2563). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19”. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสาวรัจ รัตนคำฟู และเมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work

from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ [ออนไลน์].

แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19 [22 ธันวาคม 2564]

องค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย. (2563). โรคไวรัสติดเชื้อโคโรนา 2019

(โควิด -19)รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย.

[ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand [24 กรกฎาคม 2564].

Pornphol, P. and Chittayasothorn, S. (2020). System Dynamics Model of COVID-19 Pandemic Situation: The Case of Phuket Thailand. ICCMS ‘20: Proceedings of the 12th International Conference on Computer Modeling and Simulation, Brisbane QLD, Australia. (pp.77-81).

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3th ed) . Newyork:

Harper and Row Publication.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25