การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนา,, ทักษะกระบวนการ,, การคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะกระบวนการเชิงคิดวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด สาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา 2) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาชาวิชาการประถมศึกษา และ 3) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 86.35/82.31 และ 2) การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน มีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). สารการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
(2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาติ คนอยู่ตระกูล. (2561). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ผสานด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6”. ปริญญา กศ.ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15
(พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี; และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเมนท์ จำกัด.
ประพันศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1991 เทคนิคปริ้นติ้ง.
ปรีดา นวลรักษา. (2552) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2541). “ชุดการสอน”. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐานหน่วยที่ 14. หน้า 2-13. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2551). การจัดกระบวนการเรียนรู้ : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
สุนทรา ศรีวิราชา. (2557). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างการคิด วิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องการประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”. ปริญญา กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิทย์ มูลคำ. (2553). การเขียนแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพมหานคร: อี เค บุ๊คส์.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2551). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. (2559). “การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา”. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bloom, B.S.. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.