การนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
คำสำคัญ:
การนิเทศภายใน, แบบมีส่วนร่วม, บุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา 2) เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา 3) เพื่อศึกษาปัญหาการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา และ 4) เพื่อประเมินผลการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา ประชากรประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน บุคลากรจำนวน 17 คน รวมจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบประเมินความสมบูรณ์ของรูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร และแบบสอบถามสภาพและปัญหาการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร โรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ความสมบูรณ์ของรูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา ตามความคิดเห็นของประชากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.61) และรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.61- 4.70) ยกเว้นด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (m = 4.47) 2.สภาพการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา ตามความคิดเห็นของประชากรทั้งหมด โดยรวม อยู่ในระดับมาก (m = 4.21) และรายด้านทั้งหมดอยู่ในระดับมาก (m = 4.21 - 4.33) 3.ปัญหาการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยา ตามความคิดเห็นของประชากรทั้งหมด โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (m= 2.29) และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับน้อย (m = 2.21 – 2.39) 4.คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสระขุดดงสำราญวิทยาในสี่กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ปรากฎว่าในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปี 2563 นอกจากนี้ยังพบว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์เพิ่มเป็นลำดับที่ 1 ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (+ 18.35) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระภาษาไทย (+ 31.25) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ (+ 34.31)
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ธาราอักษรการพิมพ์.
จนัญญา เขางาม. (2562). “กระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบการนิเทศภายในที่เหมาะสมของโรงเรียนบ้านราษฎร์พัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชารี มณีศรี. (2538). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศิลปะบรรณาคาร.
ชนานันท์ สัมมา. (2556). “สภาพและปัญหาการนิเทศภายในของโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ชมพูนุช โยฮี. (2558). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ถาวรวิทย์ อินทมล. (2554). “การพัฒนาระบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านถิ่น อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี”. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิพถวิล อมรปาน. (2548). “สภาพและปัญหาการนิเทศการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเจ้าพระยา”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีระวัฒน์ คำชุ่ม. (2553). “การนิเทศแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนห้วยชมภูเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย 1”. การค้นคว้าแบบอิสระ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นพพรพรรณ ญาณโกมุทและคณะ. (2558). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน สำหรับโรงเรียนเอกชน”. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 5(9): 25 - 40.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พิบูลชัย ศรีเข้ม. (2553). “การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 10”. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เมตต์ เมตต์การุณจิตต์. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
วัชรา เล่าเรียนดี (2556). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม: โครงการส่งเสริมการผลิตตำราและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สงัด อุทรานันท์. (2553). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: มิตรสยาม.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2545). “การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). การนิเทศภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.