กลยุทธ์การพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านประคอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สำรวม คงสืบชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การพัฒนา, การใฝ่เรียนรู้, สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านประคอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน ระยะที่ 2 สำรวจสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน ระยะที่ 3 กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ และระยะที่ 4 ประเมินกลยุทธ์ เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบการพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพครู การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพบริบท และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93 S.D. = .10) จากการสำรวจสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.77 S.D. = .18) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ( = 4.69 S.D. = .23) และค่าความต้องการจำเป็นพัฒนาการ

ใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified = .73) เมื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการสัมภาษณ์สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลการปฏิบัติที่ดี สามารถสังเคราะห์และกำหนดได้ 23 กลยุทธ์ 54 มาตรการ 54 เป้าหมาย และ54 ตัวชี้วัดความสำเร็จ จากผลการประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์การพัฒนาการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน โดยรวมพบว่า ด้านความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ความเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ และความถูกต้องและเหมาะสม ทั้ง 23 กลยุทธ์ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาภาคบังคับ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2552). เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้. เล่มที่ 7. เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ ปีที่ 21.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). ผลงานการวิจัยเรื่องปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 11. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

_______. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). ชุดฝึกอบรมครู : ประมวลสาระหลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พิศเพลิน เขียวหวาน และคณะ. (2546). เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการวัดประเมินผลคุณธรรม จริยธรรม ตาม พ.ร.บ.2542. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิมลมาศ เรืองพานิช. (2557). ผู้บริหารเขาเป็นกันอย่างไร. สืบค้น 9 ตุลาคม 2563, จาก http://jobsDB.com.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียน : ประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).

สุรัสวดี อินทร์ชัย. (2554). การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงานและผลสัมฤทธิ์ด้วยการใช้บทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

อภิณห์พร สถิตภาคีกุล และคณะ (2555). รายงานการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูในศตวรรตที่ 21 : กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

อารี พันธ์มณี. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ใยไหม.

Piaget. (1974). Changing Roles and responsibilities of the Elementary School

Principals. Dissertation Abstracts International.

Trilling and Faded. (2009). 21th Century Skill : Learning for life in our

times. California : Jossey-Bass.

Vick and Heiberger. (2008). The academic job search handbook. 4thed.

Philadelphiania : University of Pennsylvania Press.

Wheelen and Hunger. (2004). Strategic Management and Businass Policy. 9thed.

Upper Saddle River, NJ : Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29