การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนบ้านประคอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สำรวม คงสืบชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, การจัดการ, สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อประเมินการปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการทำงาน ผลผลิต รวมทั้งความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มประชากรที่เป็นผู้ให้ข้อมูลมีทั้งสิ้น 11 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้จัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ  เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังจากสิ้นสุดโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก ปีการศึกษา 2564 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งนี้ สรุปได้ว่า มีด้านที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และด้านความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้จัดการเรียนรู้ที่มีต่อโครงการ สำหรับด้านที่ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านปัจจัย ด้านผลผลิต และความพึงพอใจของผู้เรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาภาคบังคับ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โรงเรียนบ้านประคอง. (2564). แผนปฏิบัติการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2564. อัดสำเนา. บุรีรัมย์: สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว: กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 3. (2563). “สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)”. รายงานวิจัย. ราชบุรี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 3

Bernie Trilling and Charles fade. (2009). CENTURY SKILLS 21st ed. San Francisco : Josey-Bass.

Bonwell & Eison. (1991). Active Learning : Creating Excitement in the Classroom. ASHE – ERIC higher Education Report No. 1. Washington, DC.

Bonwell. (2003). Active Learning : Creating Excitement in the Classroom. (online)Available. http://www.active-learning-site.com. 15/04/2563.

Mc Kinney. (2008). Developing Teachers for High – poverty schools : The role of the internship experience. Urban Education. (online), Available. http://

www.eric.ed.go. 15/04/2563.

PDK National Study Committee on Evaluation. (1977). Educational Evaluation and Decision Making. Indiana : Phi Delta Kappa.

Sheffield Halam University. (2000). Acting Teaching and Learning Approaches in Science. Workshop ORIC Bangkok.

Sherman. (2004). Science and Science teaching. Westpart : Greenwood Press.

Silberman. (1996). Acting Learning. Boston : Allyn & Bacon.

Stufflebeam, Danial L. and Shinkfield, A.J. (1985). Systematic Evaluation. Massachusette : Kluwer-Nijhoff.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29