ผลของกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อทักษะทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
กิจกรรมนันทนาการ, ทักษะทางสังคม, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมนันทนาการ โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 10 ครั้ง ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งใช้เวลา 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง และแบบประเมินทักษะทางสังคม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ผลพบว่า หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กิตติมา เทียบพุฒ. (2551). “ผลการเข้าร่วมโปรแกรมการใช้เวลาว่างที่มีต่อการพัฒนาสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กิตติวัฒน์ อัจนากิตติ. (2554). “ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อทักษะทางสังคมของวัยรุ่นตอนปลาย”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2557). ทักษะทางสังคม. (1 สิงหาคม 2564). http://jareeluk. blogspot.com/2014/09/blog-post_27.html
จิราพัชร นิลแย้ม. (2564). ทักษะทางสังคม. (1 สิงหาคม 2564).https://www. manarom.com/blog/social_skills.html
ชูชีพ เยาวพัฒน์. (2543). นันทนาการ. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
นพรัตน์ ศุทธิถกล. (2551). “การพัฒนารูปแบบโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนติดเกม”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2542). นันทนาการชุมชนและโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.