ผลของโปรแกรมการฝึกการสื่อสารระหว่างบุคคล ที่มีต่อการทำงานเป็นทีมของพนักงาน

ผู้แต่ง

  • สมลักษณ์ สุขกำเนิด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ประยุทธ ไทยธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกการสื่อสารระหว่างบุคคล, การทำงานเป็นทีม, พนักงาน

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของพนักงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงการทดลอง (Experimental research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงาน สังกัดกองระบบควบคุมและทดสอบ ฝ่ายก่อสร้างระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกการสื่อสารระหว่างบุคคล รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง และแบบสอบถามการทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ผลพบว่า หลังการทดลอง พนักงานกลุ่มทดลองมีการทำงานเป็นทีมสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าพนักงานกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

ธัญพร สาครเย็น. (2559). “อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและรูปแบบการสื่อสารที่มีต่อการทำงานเป็นทีมของพนักงานสายงานวิชาการ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

มนตรี ประซากรธัญญกิจ. (2558). “การศึกษาการติดต่อสื่อสารองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และภาวะผู้นำที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของ บริษัท บางกอกโคมัตสุเซลส์ จำกัด”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ระวิรัฐ รุ่งโรจน์. (2559). “การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยใช้โปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา”. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิเชียร วิทยอุดม. (2554). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2556). “การตลาดเชิงสร้างสรรค์”. วารสาร TPA News, 17(119): 43-44.

Devito, J. A. (2003). Human communication: The basic course. (9th ed.). Boston: Pearson Education.

Devito, J. A. (2004). The Interpersonal communication book (10th ed.). Boston: Pearson Education.

Romig, D. A. (1996). Breakthrough teamwork: Out standing result using structured teamwork. Chicago: Irwin.

Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29