อัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทโธ(ทรงราษี) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ภักดี โพธิ์สิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ท้องถิ่น, การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

        การสร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างตัวตนของชุมชนให้มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวเกิดความแปลกใหม่ที่ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ซึ่งอยู่ในรูปแบบของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปะ วัฒนธรรม และสินค้าวัฒนธรรม เป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนให้รู้สึกหวงแหนมีความเป็นเจ้าของชุมชน โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและความมีอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพื่อให้เกิดรายได้ ผนวกกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ซึ่งมีกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวเข้าไปมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม และเกิดความประทับใจให้แก่ทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนซึ่งจะช่วยสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างยั่งยืน

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560 – 2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: พีดับบลิวปริ้นติ้ง.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานสรุปฉบับผู้บริหาร โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มประเทศอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ชลธิชา มาลาหอม. (2555). “อัตลักษณ์ชุมชนรากฐานสู่การศึกษา”. วารสารครุศาสตร์. 9(1),41.

ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. (2553). อัตลักษณ์ชุมชน : Community Identities. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

ดวงกมล เวชวงค์. (2554). “กระบวนการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนในบริบทของการท่องเที่ยวผ่านหอวัฒนธรรมพื้นบ้านและตลาดท่าน้ำ: ศึกษากรณีชุมชนยวนตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี”. วารสารวิทยบริการ. 22(3), 113.

ตุลยราศรี ประเทพ. (2558). “รูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม”. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. ในวาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ภัยมณี แก้วสง่า, นิศาชล จานงศรี. (2555). “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย”. Suranaree J. Soc. Sci. 6(1), 93-111.

ยศ สันตสมบัติ. (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สุจรรยา โชติช่วง. (2554). “การศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต1”. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เสรี พงศ์พิศ. (2553). กินอยู่พอดีมีความสุข. กรุงเทพมหานคร: พลังปัญญา.

อรอุมา เตพละสกุล และ นาฬิก อติภัก (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : การรับรู้ของนักท่องเที่ยวความ พร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. (28 เมษายน 2565)สืบค้น จาก http://www.dasta.or.th.

อาภรณ์ จันทร์สมวงศ์. (2544). พลวัตชุมชนไทยในสมัยโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: โครงการประสานงานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม.

อินทิรา พงษ์นาค. (2557). “อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Richards, G. (2010a). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism AGlobal Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at presentat the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe.(pp. 78–90). New Mexico. USA.

Richards, G., & Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ALTAS News, 23: 16-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29