วิกฤตวัฒนธรรม เปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตสังคมไทยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ประทวน วันนิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • มนูญ สอนโพนงาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

วิกฤตวัฒนธรรม, วิถีชีวิต, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

        บทความวิชาการเรื่อง วิกฤตวัฒนธรรม เปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตสังคมไทยในยุคดิจิทัล มีวัตถุประสงค์ เพื่อสะท้อนสภาพวัฒนธรรมในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากอดีตถึงปัจจุบัน และแนวทางการคงอยู่ของวัฒนธรรมไทยบทความนี้ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิชาการ รวบรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล เทียบเคียงแนวคิด ทฤษฏีทางสังคมศาสตร์ มาบูรณาการในการนำเสนอ ด้วยความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี สู่ยุคดิจิทัลการสื่อสารไร้พรมแดน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมข้ามชาติ ส่งผลกระทบกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ดั้งเดิม การเปลี่ยนคุณค่า ภูมิปัญญา ความรู้สึก วัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมถูกครอบงำถึงขั้นวิกฤต ซึ่งวัฒนธรรมกลับกลายเป็นตัวคุณค่าที่เปลี่ยนสินค้าให้เป็นความนิยมเชิงธุรกิจตามชนชาติพันธ์อื่น ส่งผลต่อวิถีชีวิตคนในสังคมเดิมขาดความเป็นตัวตน ความเป็นแก่นสารวัฒนธรรมเพียงอาศัยความรู้สึกเรื่องชาตินิยมเข้ามา เพราะชาตินิยมหรือความเป็นไทยต่างๆเหล่านี้ ได้ถูกระบบทุนนิยมเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิต หากมองอีกแง่หนึ่งเพื่อความอยู่รอดและรู้เท่าทันการการเปลี่ยนแปลงที่สังคมไทยไม่สามารถยับยั่งการไหล่บ่าของวัฒนธรรมข้ามชาติได้ หากเพียงปรับเปลี่ยนแนวคิดรับเอาวัฒนธรรมปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทย ซึ่งในอนาคตอันใกล้ ประมาณ 20 – 30 ปี ข้างหน้า ความเป็นโลกาภิวัฒน์จะขยายตัวลงไปสู่เบื้องล่างมากขึ้น ดังนั้นหนทางพื่อความคงอยู่ของวัฒนธรรมความเป็นไทยที่ล่าหลังจำต้องปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา ด้วยการพัฒนาทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต ไอแพด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกัน เพื่อความอยู่รอด อยู่ได้อย่างมีความสุข และยั่งยืน

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.พี. คอมมิวนิเคชั่น.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐท (2542). 1999 จุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย : จากโลกาภิวัตน์สู่ ชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพลส โปรดักส์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2549). จุดเปลี่ยนประเทศไทยเศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สยาม เอ็ม แอนด์ พี จำกัด.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2549). จุดเปลี่ยนประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1), สยาม เอ็มแอนด์ บี พับลิชชิ่ง จำกัด.

สนิท สมัตรการและสุพรรณี ไชยอำพร. (2538). สังคมไทย ภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. (พ.ศ. 2535-2550) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2548). โลกาภิวัตน์ บรรษัทข้ามชาติ บรรษัทภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรษัท. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา พงศาพิชญ์. (2547). มนุษย์กับวัฒนธรรม ในสังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29