ผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตนเชิงบวกที่มีต่อ การรับรู้ความสามารถแห่งตนของพนักงาน

ผู้แต่ง

  • สาลินี ผิวเพ็ง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ประยุทธ ไทยธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกพูดกับตนเชิงบวก, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, พนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตนเชิงบวกที่มีต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานตำแหน่งปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 2 สำนักวิชา รวม 24 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่มและสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย แล้ว         จับสลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกพูดกับตนเชิงบวก โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 8 ครั้ง ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งใช้เวลา 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง พนักงานกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าพนักงานกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ขวัญจิต มหากิตติคุณ. (2548). “ผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกต่อภาวะซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่น”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คมกริช นันทะโรจพงศ์. (2564). “การสร้างพฤติกรรมเป็นผู้ประกอบการภายในองค์การของ

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีนวัตกรรม : อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของ

ตนเอง”. วารสารการบัญชีและการจัดการ. 13(1): 44-65.

ปวิมล มหายศนันท์ และคณะ (2563). “ผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเรื้อรัง”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พชร สันทัด. (2562). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการทํางานในยุคประเทศไทย 4.0.”.

วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย. 1(1): 45-57.

พุทธชาด วูโอริ. (2563). “การพัฒนาโปรแกรมฝึกพูดกับตนเองเชิงบวกเพื่อส่งเสริมความฉลาด

ทางอารมณ์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฎร์ธานี”. NRRU Community Research Journal. 15(1): 123-133.

สุทัตตา พานิชวัฒนะ. (2560). “การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทรัพยากรในงาน และความ

ผูกพันในงาน โดยมีความต้องการของงานที่ท้าทายเป็นตัวแปรกำกับ”. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนทรี ศักดิ์ศรี. (2554). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของพนักงานที่ทํางานในองค์การเสมือนจริง”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรพรรณ การค้า. (2556). “ผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตนเองเชิงบวกที่มีต่อความฉลาดทาง

อารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.

Nelson-Jones, R. (1990). Thinking skills: managing and preventing personal problems. Pacific Grove. California: Brooks/Cole Publications.

________. (2004). Effect Thinking skill. 4th ed. London: SAGE.

Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ:

Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23