การจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาตามหลักสัปปายะ
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อมทางการศึกษา, หลักสัปปายะ, การจัดการศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งที่เป็นรูปธรรม (concrete) และนามธรรม (abstract) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเพียงในห้องเรียน และไม่จำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ การจัดการปัจจัยต่าง ๆ เพื่อรองรับการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นับว่ามีอิทธิพลต่อคุณภาพต่อการเรียนอย่างยิ่ง ในฐานะสถานศึกษาเป็นดังบ้านที่มีความพร้อมสะดวกสบายมีบรรยากาศสร้างความรู้สึกที่ดีแก่ผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งคนอื่นๆ ที่มีอยู่ในสถานศึกษา และศึกษาหลักสัปปายะ ว่าหลักข้อใดมีความสอดคล้องหรือไปในแนวทางเดียวกันกับหลักการจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษา และสามารถสังเคราะห์เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อการบริหารสถานศึกษาให้มีความเป็นเลิศทางปัญญาและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เพราะปัจจัยจากภายนอกมีความสัมพันธ์กับปัจจัยภายในส่งผลต่อผู้เรียน
References
ปฏิคม พงษ์ประเสริฐ. (2550). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการในโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองนครนายก . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโฒ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
________. (2565). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=223 [10 ตุลาคม 2565].
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ,สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2544). ยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อการ อนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.
วิจิตร ศรีสะอ้าน และคณะ. (2523). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Astin, A. W. (1968). The college environment. New York: American Council on Education.