การศึกษาเปรียบเทียบโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทกับนิพพานในทัศนะ ของพุทธทาสภิกขุ

ผู้แต่ง

  • พระวันรุ่ง ถาวรจิตฺโต (คงดี) วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การศึกษาเปรียบเทียบ, โมกษะในปรัชญาอุปนิษัท, นิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ”

บทคัดย่อ

        วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทกับนิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ" มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโมกษะในปรัชญาอุปนิษัท 2) เพื่อศึกษานิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทกับนิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ โดยการศึกษาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. โมกษะในปรัชญาอุปนิษัท หมายถึง การหลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ คือ วงจรแห่งการเกิดและตาย แล้วเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมัน  ซึ่งเป็นอุดมการณ์สูงสุดของปรัชญาอุปนิษัท ส่วนวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทนั้นต้องปฏิบัติตามหลักโยคะ 3  คือ กรรมโยคะ  ญาณโยคะ  และภักติโยคะ 2. นิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุนั้น หมายถึง เย็น โดยที่จิตเย็นเพราะปราศจากไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะเผาลน หรือความว่าง ได้แก่ ภาวะที่จิตว่างจากกิเลสตัวกู-ของกู ไม่เกิดขึ้นมาในขณะนั้น ๆ จิตจึงอยู่กับความว่าง หรือจิตได้สัมผัสกับนิพพาน ส่วนวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงนิพพานนั้น ต้องปฏิบัติตามหลัก วิปัสสนากรรมฐาน ใน 2 แนวทาง คือ 1) ฝึกสมาธิวิปัสสนาตามวิถีธรรมชาติ 2) ฝึกสมาธิวิปัสสนาตามรูปแบบเฉพาะ 3. ความเหมือนและความแตกต่างของโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทกับนิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุมี 3 ประเด็น กล่าวคือ 1) ความหมายของโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทกับนิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ มีความเหมือนกันกล่าวคือ ความหลุดพ้นจากทุกข์ 2) ประเภทของโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทกับนิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ มีความเหมือนกันกล่าวคือ เป็นวิธีการทางปัญญาเพื่อเข้าถึงเป้าหมายอันสูงสุด และ 3) วิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโมกษะในปรัชญาอุปนิษัทกับนิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ในปรัชญาของอุปนิษัทระบุไว้ว่าต้องปฏิบัติตามหลักโยคะ ส่วนในทัศนะของพุทธทาสภิกขุชี้ว่า ต้องปฏิบัติตามหลักวิปัสสนากรรมฐาน

References

จรูญ วงศ์สายัณห์. (2519). หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). จิตว่าง. กรุงเพทมหานคร: เพชรประกาย.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). ตัวกู-ของกู. กรุงเพทมหานคร: เพชรประกาย.

สุนทร ณ รังสี. (2530). ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ พัฒน์ยิ่งใหญ่. (2530). ความคิดสำคัญในปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

S. Radhakrishnan. (1966). Indium philosophy. vol. II (London: George Allen & Unwin Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29